จอร์จ วอชิงตัน (George Washington) ต้นแบบประธานาธิบดี

"การปฏิบัติที่เป็นธรรมคือเสาค้ำที่มั่นคงของรัฐบาล" George Washington
            เมื่อครั้งที่แล้วเรารู้ไปแล้วว่า จอร์จ วอชิงตัน ใจเย็นและยอมทิ้งศักดิ์ศรีของตัวเองโดยการเปลี่ยนศัตรูเป็นเพื่อนได้อย่างไร คาวนี้เราจะมาดูกันว่า จอร์จ วอชิงตันเป็นต้นแบบประชาธิปไตรได้อย่างไร

พวกเราต่างก็รู้ว่าประชาธิปไตรเกิดขึ้นที่กรีก แต่ยังไม่เคยมีการปกครองแบบประชาธิปไตร โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข หรือพูดง่ายๆมีผู้นำเพียงคนเดียวเกิดขึ้นเลย แล้วสหรัฐสามารถทำได้ โดยผู้นำนั้นจะได้มาจากการเลือกตั้ง และรัฐสภาเป็นใหญ่กว่าทหาร ทั้งหมดจะไม่เกิดขึ้นหาก ผบ.ทหารสูงสุดในตอนนั้นไม่ใช่ จอร์จ วอชิงตัน  

หลังจากที่กองทัพอังกฤษยอมแพ้ที่ยอร์คทาว์นแต่ยังไม่เซ็นสัญญาสงบศึกนั้น อังกฤษยังมีกองทัพขนาดใหญ่ในเมืองนิวยอร์ค สภาได้มีคำสั้งให้คงกองกำลังของวอชิงตันไว้ ซึ่งในระหว่างที่คงกองกำลังนั้นไม่มีการรบอะไรเกิดขึ้นเลย แล้วไอการที่ไม่รบกันนั้น ทำให้ต้องเสียค่าบำรุงกองทัพด้วยเงินจำนวนมาก สภาในตอนนั้นไม่มีเงินพอที่จะจ่ายเบี้ยเลี้ยงทหารได้ พอปล่อยไปนานเข้าทหารก็ไม่พอใจอย่างรุนแรงประกอบกับไม่มีการรบอะไรเกิดขึ้นเลย 2ปี เต็มๆ พวกเหล่าทหารจึงวางแผนเดินทัพไปขู่สภา

            ในตอนนั้นจอร์จ วอชิงตันกลัวว่าทหารจะยึดอำนาจจึงเรียกทหารมาเกลี้ยกล่อม จนกระทั่งวันหนึ่งเขาหยิบจดหมายจากสภาคองเกรสที่สัญญาว่าจะจ่ายเบี้ยเลี้ยงย้อนหลังให้นายทหาร เขากลับจ้องกระดาษอยู่นานจดผิดสังเกตุ ท้ายที่สุดเขาก็หยิบแว่นตา ซึ่งไม่เคยมีใครเห็นเขาใส่มาก่อนขึ้นมาและกล่าวว่า

            "โปรดอนุญาติให้ผมได้สวมแว่นสายตา เพราะตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผมรับใช้ประเทศมา ผมไม่ได้เพียงแค่มีสังขารที่ทรุดโทรมด้วยความชราลงเท่านั้น แต่สายตาของผมก็เกือบจะบอดอีกด้วย" สิ่งที่เขาได้พูดทำให้ทหารที่รักเขานั้นสะเทือนใจอย่างแรง และยอมกลับไปแต่โดยดี

            หลังจากนั้นมีการเซ็นสัญญาสงบศึก วอชิงตันก็ยุบกองทัพตามคำสั่งของสภาแต่โดยดี ซึ่งมันแสดงให้เห็นถึงว่า วอชิงตัน มีความคิดที่ว่าประชาชนอยู่เหนือทหาร แม่ทัพอเมริกาในยุคต่อมาไม่ว่าจะเก่งแค่ไหนก็ต้องฟังคำสั่งของประธานาธิบดี (ยกตัวอย่างเช่น แมคอาเธอร์ที่ต้องจำเป็นต้องทิ้งทหารที่ฟิลิปปินส์ตามคำสั่งของประธานาธิบดีโรสเวลต์ หรือตอนที่แมคอาเธอร์โดนปลดกลางอากาศแม้ว่าจะเป็นฮีโร่สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เช่นกัน) และไม่มีการรัฐประหารตามมา

            แม้จะสิ้นสุดสงครามแต่บารมีวอชิงตันนั้นมหาศาล หลังจากจบสงครามกับอังกฤษ 13รัฐก็กระจายตัวต่างคนต่างอยู่ทะเลาะกันบ่อยๆ จึงได้มีการเชิญวอชิงตัน ซึ่งตอนนั้นลาออกไปทำไร่ที่บ้าน กลับมาเป็นประธาน และตัวแทนของรัฐได้มีการร่างรัฐธรรมนูญซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการวางระบบการปกครองใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม นั้นก็คือการถือกำเนิดของรัฐธรรมนูญที่มีอายุ 200 ปีและคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน เพียงแค่ฉบับเดียว

            สิ่งที่แปลกก็คือทุกคนต่างมั่นใจว่า วอชิงตันจะต้องเป็นประธานฝ่ายบริหารอย่างแน่นอน และทุกคนก็ยังมั่นใจว่าจะไม่มีการกุมอำนาจอย่างน้อยในช่วงแรกแน่ กล่าวคือ ตัวแทนของรัฐมั่นใจและเชื่อใจในตัววอชิงตันอย่างไม่มีเงื่อนไข (เพราะตอนแรกตัวแทนรัฐยังไม่มั่นใจในการปกครองแบบหนึ่งคนเพราะกลัวการกุมอำนาจเหมือนโรมยุคก่อนจะมีกงศุลสองคน)
     ในตอนแรกวอชิงตันจะไม่รับเงิน แต่สภาขอร้องให้รับเพราะไม่อยากให้ภาพลักษณ์ของตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งของคนรวยเท่านั้น แสดงให้เห็นว่าประชาชนอเมริกันตอนนั้นมองการไกลพอสมควร เมื่อครบวาระสภาก็ขอร้องให้เป็นต่อ พอหมดสมัยที่สองวอชิงตันปฏิเสธโดยอ้างเรื่องสุขภาพ อีกเหตุผลหนึ่งก็คือว่าเขาต้องการให้เป็นแบบอย่างกับประธานาธิบดีในรุ่นต่อไป เพื่อไม่ให้มีการกุมอำนาจ ต่อจากนั้นอเมริกาก็ไม่มีใครกล้าลงสองสมัย (ยกเว้น โรสเวลต์แต่ตอนนั้นเป็นช่วงสงครามพอดีและหลังจากโรสเวลต์จึงมีการแก้รัฐธรรมนูญให้ปธร.อยู่ได้เพียงแค่ 2 สมัยเท่านั้น)
     เราจะเห็นบุคคลแบบวอชิงตันได้น้อยมากที่จะเสียสละผลประโยชน์ของตัวเอง ยอมทิ้งอำนาจเพื่อประชาชนที่ตนเองก็ไม่รู้จัก ยอมไปถึงการมองการไกลไปถึงอนาคต และเพื่อนที่มากมายที่พร้อมจะไว้ใจเขาและพร้อมจะเดินตามเขา สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าจอร์จ วอชิงตันเป็นต้นแบบของประธานาธิบดีอย่างไม่มีเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น
"เสรีภาพเมื่อมันเริ่มหยั่งราก พืชก็จะเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว" George Washington

ความคิดเห็น