แนวคิดของมาสโลว์ ถูกเสนอในรายงานเรื่อง The Theory of Human Motivation ในปี 1948 ความต้องการของมนุษย์ก็ไม่เคยเปลี่ยนแปลงแม่จะผ่านมานานแค่ไหนก็ตาม แต่รายละเอียดปลีกย่อยจะไม่เหมือนกัน ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงลำดับขั้นความต้องการของ มาสโลว์ในยุคนี้กันว่ามีความแตกต่างจากยุคก่อนๆมากเพียงใด
หลายคนที่เคยเรียนทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ คงจะงงว่าทำไมมันถึงมี 8 ขั้น ทั้งๆที่ตอนเรียนมีเพียงแค่ 5 ขั้นเท่านั้น ในปี 1948 มาสโลว์เผยแพร่แนวคิดลำดับขั้นความต้องการ 5 ขั้น แต่ในช่วงเวลาต่อมามีนักวิจัยท่านอื่น ๆ ที่มาต่อยอดจาก 5 ขั้นของ Maslow โดยเพิ่มความต้องการจาก 5 ขั้น มาเป็น 8 ขั้น
เราจะมาดูกันว่า ใน 8 ขั้นนั้นมีอะไรบ้าง และหมายความว่าอย่างไร และในยุคนี้ความต้องการของมนุษย์มีความแตกต่างจากยุคก่อนอย่างไรบ้าง
ขั้นที่ 1 Physiological Needs ความต้องการพื้นฐาน หรือที่เราเรียกกันว่าปัจจัย 4 ซึ่งหากเรามองในยุคสมัยนี้ เราจะเห็นภาพตลกๆ ที่มีความต้องการขั้นแรกเป็๋น WIFI ซึ่งสำหรับผมแล้ว ผมคิดว่ามันเป็นไปได้ บางคนอาจจะบอกว่า ก็เงินไงล่ะ เงินคือปัจจัยแรก ซึ่งก็ถูกอีกเช่นกัน ดังนั้นผมจะสรุปว่าความต้องการขั้นแรกจะเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตอย่างมากและจะขาดไปไม่ได้ หรือขาดไปแล้วเราจะลำบากมาก
ขั้นที่ 2 Safety Needs ความต้องการด้านความปลอดภัย ในขั้นนี้จะเหมือนขั้นที่พัฒนามาจากขั้นที่ 2 ในทฤษฎี ERG ของ Alderfer จะถือว่าขั้นที่ 1 และ 2 ของ Maslow คือขั้นที่ 1 (Existence = ความต้องการด้านพื้นฐาน) ของ Alderfer
สิ่งที่เราเห็นก็คือ ความต้องการด้านความปลอดภัยมันเสริมความต้องการทางด้านชีวภาพขึ้นมา เมื่อเรามีอาหาร มีที่ขับถ่ายที่อยู่อาศัย เราย่อมต้องการความปลอดภัยเมื่อเราดำเนินชีวิต เราอาจคิดไปถึงวันข้างหน้าในวันที่เราแก่ไป เราจะมีเงินใช้พอหรือไม่ เราควรจะทำประกันสุขภาพไว้เผื่อตอนเราป่วย เพราะโรคในสมัยนี้มันต้องเสียค่ายารักษาในราคาแพง หรือแม้แต่กรณีที่เราขยันทำงาน ต้องการทำงานดีๆ ตำแหน่งสูงๆ เพื่อเก็บเงินเยอะๆ ใช้ในตอนแก่ หรือนำไปใช้ในตอนที่เราป่วย ถือเป็นความต้องการในขั้นที่ 2 ทั้งสิ้น
ขั้นที่ 3 Love and Belonging Need ความต้องการทางด้านความสัมพันธ์ ผมเรียกว่าความต้องการด้านความสัมพันธ์ เนื่องจากมันไม่ได้หมายถึงคู่ครองเสมอไป แต่มันรวมไปถึงกลุ่มเพื่อนด้วย ในทางจิตวิทยาสังคม เราจะเรียกมันว่า Group Dynamics (พลวัตกลุ่ม)
พลวัตหมายถึงการขับเคลื่อน ไม่หยุดนิ่ง นั้นหมายถึงชีวิตของเราดำเนิน ขับเคลื่อนด้วยกลุ่ม เราย่อมต้องการการยอมรับจากตัวเอง แน่นอนเราต้องการการยอมรับจากกลุ่มเพื่อนด้วย ในขั้นที่ 3 เราต้องการเด่น หรือทำอะไรสักอย่างให้เด่น พึ่งดึงดูดใจเพื่อน หรือคนที่เราชอบ เรามักพบเด็กที่เก็บตัว ไม่อยากยุ่งกับใคร และเราจะพบเด็กเหล่านั้น ไม่มีอะไรที่เป็นที่โดดเด่น หรือมีแต่ตัวเค้าไม่รู้ หรือไม่แสดงออกมา เค้าจึงรู้สึกไม่ค่อยมีความสุขในโรงเรียน หรือในสังคม ต่างจากเพื่อนที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ที่มีความสุข เป็นตัวแสบ ต้องการการสนใจจากคนในกลุ่ม เรามักพบบ่อยในสังคมของเรา พวกเด็กๆเวลาที่อยู่เป็นกลุ่มจะมีความกล้า รู้สึกว่าตนเองมีพลัง แต่เวลาที่อยู่คนเดียวกลับแสดงทีท่าตรงกันข้าม ทั้งหมดนั้นเกิดจาก Group Dynamics
ขั้นที่ 1 Physiological Needs ความต้องการพื้นฐาน หรือที่เราเรียกกันว่าปัจจัย 4 ซึ่งหากเรามองในยุคสมัยนี้ เราจะเห็นภาพตลกๆ ที่มีความต้องการขั้นแรกเป็๋น WIFI ซึ่งสำหรับผมแล้ว ผมคิดว่ามันเป็นไปได้ บางคนอาจจะบอกว่า ก็เงินไงล่ะ เงินคือปัจจัยแรก ซึ่งก็ถูกอีกเช่นกัน ดังนั้นผมจะสรุปว่าความต้องการขั้นแรกจะเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตอย่างมากและจะขาดไปไม่ได้ หรือขาดไปแล้วเราจะลำบากมาก
ขั้นที่ 2 Safety Needs ความต้องการด้านความปลอดภัย ในขั้นนี้จะเหมือนขั้นที่พัฒนามาจากขั้นที่ 2 ในทฤษฎี ERG ของ Alderfer จะถือว่าขั้นที่ 1 และ 2 ของ Maslow คือขั้นที่ 1 (Existence = ความต้องการด้านพื้นฐาน) ของ Alderfer
สิ่งที่เราเห็นก็คือ ความต้องการด้านความปลอดภัยมันเสริมความต้องการทางด้านชีวภาพขึ้นมา เมื่อเรามีอาหาร มีที่ขับถ่ายที่อยู่อาศัย เราย่อมต้องการความปลอดภัยเมื่อเราดำเนินชีวิต เราอาจคิดไปถึงวันข้างหน้าในวันที่เราแก่ไป เราจะมีเงินใช้พอหรือไม่ เราควรจะทำประกันสุขภาพไว้เผื่อตอนเราป่วย เพราะโรคในสมัยนี้มันต้องเสียค่ายารักษาในราคาแพง หรือแม้แต่กรณีที่เราขยันทำงาน ต้องการทำงานดีๆ ตำแหน่งสูงๆ เพื่อเก็บเงินเยอะๆ ใช้ในตอนแก่ หรือนำไปใช้ในตอนที่เราป่วย ถือเป็นความต้องการในขั้นที่ 2 ทั้งสิ้น
ขั้นที่ 3 Love and Belonging Need ความต้องการทางด้านความสัมพันธ์ ผมเรียกว่าความต้องการด้านความสัมพันธ์ เนื่องจากมันไม่ได้หมายถึงคู่ครองเสมอไป แต่มันรวมไปถึงกลุ่มเพื่อนด้วย ในทางจิตวิทยาสังคม เราจะเรียกมันว่า Group Dynamics (พลวัตกลุ่ม)
ขั้นที่ 4 Esteem Need ความต้องการการยอมรับ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับขั้นที่ 3 เช่นเดียวกับขั้นที่ 2 เสริมขั้นที่ 1 ขั้นที่ 4 ก็เสริมขั้นที่ 3 เช่นเดียวกัน กล่าวคือในตอนแรกที่เราต้องการการยอมรับจากกลุ่มเพื่อน เราจะรู้ข้อดีของเรา นั้นคือชอบเล่นกีฬา ชอบเล่นเกม เรียนเก่ง เราจะพัฒนาด้านนั้นจนมีการยอมรับที่กว้างออกไปอีก เช่นการยอมรับจากสังคม เมื่อเราได้รับด้วยถ้วยกีฬา เราจะรู้สึกดีที่สังคมให้การยอมรับที่เราเป็นเด็กเรียนดี หรือแม้กระทั่งคำชมของผู้ที่เราชื่นชม อย่างที่ผมกล่าวไว้ว่า มันจะคล้ายกันกับขั้นที่ 3 แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ ขั้นที่ 3 จะเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ เราต้องการยอมรับจากกลุ่ม ด้วยทักษะบางอย่าง แต่ขั้นที่ 4 เราพัฒนาทักษะบางอย่างเพื่อเป็นที่ยอมรับของสังคม
ขั้นที่ 5 Cognitive Need ความต้องการความรู้ ขั้นนี้เป็นขั้นที่เราต้องการความรู้อะไรบางอย่าง เช่นเราเกิดความสนใจทางด้านธุรกิจ และเราหาข้อมูลความรู้เพื่อพัฒนาตัวเอง เพื่อเสริมความสนใจของเรา ในสมัยก่อนการหาข้อมูลไม่ได้ง่ายดายเหมือนกับในสมัยนี้ ในสมัยก่อนจะต้องค้นหาตำรา หาหนังสืออ่าน และการอ่านก็คือความรู้ ถ้าในสมัยนี้เราสนใจด้านไหนก็สามารถหาความรู้ได้อย่างง่ายดาย มองดูเหมือนเป็นเรื่องพื้นฐาน แต่จริงๆแล้วการที่เราจะสนใจบางสิ่งบางอย่าง อย่างแท้จริงและหาความรู้ประกอบเพื่อพัฒนาความสนใจหรือแม้กระทั่งทักษะบางอย่างนั้นเป็นเรื่องที่ยาก หรือแม้กระทั่งการหาความรู้เพื่อเข้าใจสิ่งที่อยู่รอบตัวเราให้มากขึ้นด้วยเช่นกัน
ขั้นที่ 6 Aesthetic Need ความต้องการความงดงาม ในขั้นนี้เราจะมองเห็นความงามในสภาพแวดล้อม เพื่อให้เรารู้สึกจรรโลงใจ ไม่ใช่ว่าเรามองเห็นความสวยงามของท้องทะเลแล้วเรารู้สึกพอใจ แต่มันจะเริ่มจากการมองเห็นความงามของโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นรอยยิ้มของทารก หรือเด็กเดินจุงมือ มดที่เดินกันเป็นฝูง หรือแม้กระทั้งเห็นความงามในสิ่งที่แปลกๆ เช่น ห้องที่มืดมิด หรืองานศิลปะที่มันดูแปลกๆ Abstract เมื่อเรามองเห็นความงามของโลกใบนี้ เราจะมีความต้องการในขั้นนี้ ต้องการเป็นเจ้าของความงาม เดินทางไปต่างประเทศเพื่อไปถ่ายรูปในเมืองที่เราชอบ สถานที่ที่เราชอบ หรือต้องการความงดงามจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา ของประดับตกแต่งเพื่อทำให้เรารู้สึกดีมากขึ้นเมื่อเราอยู่ในบ้าน
ขั้นที่ 7 Self-Actualization Need ความต้องการต้นพบอัตลักษณ์แห่งตน เรารู้ว่าเราคือใคร ตั้งคำถามกับตัวเอง สำหรับผมเรื่องนี้สำคัญมาก คือการตั้งคำถามกับตัวเอง เราเกิดมาทำไม เราตายไปจะไปไหน เราจะทำอะไรต่อไป เราถนัดอะไร จะพัฒนาตัวเองได้อย่างไร ทำไมโลกนี้ถึงเลวร้ายขนาดนี้ ทำไมโลกนี้ถึงงดงามขนาดนี้ คำถามต่างๆจะหล่อหลอมเป็นบุคลิกภาพของเรา และจะเกิดอัตลักษณ์แห่งตนที่เป็นรูปแบบเฉพาะของเรา เป็นลายเซ็นของเราเอง Maslow จะชอบยกตัวอย่างของ Abraham Lincoln และ Albert Einstein ซึ่งทั้งคู่ค้นพบตัวเองและทำในสิ่งที่ยิ่งใหญ่ให้กับโลกใบนี้ ขั้นนี้สำหรับผมไม่ใช่อะไรที่ซับซ้อน แค่เราตั้งคำถามกับตัวเอง และต้องการที่จะเปิด พยายามจะเป็น นั้นคือการค้นพบ Self Actualization
ขั้นที่ 8 Transcendence Need ความต้องการอยู่เหนือสามัญสำนึกพื้นฐาน สามัญสำนึกพื้นฐานหมายถึง การคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างหมุนรอบตัวเรา เราเป็นคนที่สำคัญมาก แต่เมื่อเราเข้าใจสิ่งนี้และมองในมุมกลับกันว่า เราเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตเล็กจ้อยในจักรวาลเท่านั้น เราไม่ได้เหนือ หรือยิ่งใหญ่กว่าใครเลย ชีวิตเรามีทั้งความทุกข์ และความสุข ซึ่งเกิดจากตัวเรากระทำกับสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่สิ่งแวดล้อมทำให้เราเกิดความสุขหรือความทุกข์ การตระหนักถึงข้อเท็จจริงข้อนี้จะทำให้เราก้าวข้ามขีดจำกัด หรืออยู่เหนือสามัญสำนึกพื้นฐานนั้นเอง
ขั้นที่ 5 Cognitive Need ความต้องการความรู้ ขั้นนี้เป็นขั้นที่เราต้องการความรู้อะไรบางอย่าง เช่นเราเกิดความสนใจทางด้านธุรกิจ และเราหาข้อมูลความรู้เพื่อพัฒนาตัวเอง เพื่อเสริมความสนใจของเรา ในสมัยก่อนการหาข้อมูลไม่ได้ง่ายดายเหมือนกับในสมัยนี้ ในสมัยก่อนจะต้องค้นหาตำรา หาหนังสืออ่าน และการอ่านก็คือความรู้ ถ้าในสมัยนี้เราสนใจด้านไหนก็สามารถหาความรู้ได้อย่างง่ายดาย มองดูเหมือนเป็นเรื่องพื้นฐาน แต่จริงๆแล้วการที่เราจะสนใจบางสิ่งบางอย่าง อย่างแท้จริงและหาความรู้ประกอบเพื่อพัฒนาความสนใจหรือแม้กระทั่งทักษะบางอย่างนั้นเป็นเรื่องที่ยาก หรือแม้กระทั่งการหาความรู้เพื่อเข้าใจสิ่งที่อยู่รอบตัวเราให้มากขึ้นด้วยเช่นกัน
ขั้นที่ 7 Self-Actualization Need ความต้องการต้นพบอัตลักษณ์แห่งตน เรารู้ว่าเราคือใคร ตั้งคำถามกับตัวเอง สำหรับผมเรื่องนี้สำคัญมาก คือการตั้งคำถามกับตัวเอง เราเกิดมาทำไม เราตายไปจะไปไหน เราจะทำอะไรต่อไป เราถนัดอะไร จะพัฒนาตัวเองได้อย่างไร ทำไมโลกนี้ถึงเลวร้ายขนาดนี้ ทำไมโลกนี้ถึงงดงามขนาดนี้ คำถามต่างๆจะหล่อหลอมเป็นบุคลิกภาพของเรา และจะเกิดอัตลักษณ์แห่งตนที่เป็นรูปแบบเฉพาะของเรา เป็นลายเซ็นของเราเอง Maslow จะชอบยกตัวอย่างของ Abraham Lincoln และ Albert Einstein ซึ่งทั้งคู่ค้นพบตัวเองและทำในสิ่งที่ยิ่งใหญ่ให้กับโลกใบนี้ ขั้นนี้สำหรับผมไม่ใช่อะไรที่ซับซ้อน แค่เราตั้งคำถามกับตัวเอง และต้องการที่จะเปิด พยายามจะเป็น นั้นคือการค้นพบ Self Actualization
ขั้นที่ 8 Transcendence Need ความต้องการอยู่เหนือสามัญสำนึกพื้นฐาน สามัญสำนึกพื้นฐานหมายถึง การคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างหมุนรอบตัวเรา เราเป็นคนที่สำคัญมาก แต่เมื่อเราเข้าใจสิ่งนี้และมองในมุมกลับกันว่า เราเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตเล็กจ้อยในจักรวาลเท่านั้น เราไม่ได้เหนือ หรือยิ่งใหญ่กว่าใครเลย ชีวิตเรามีทั้งความทุกข์ และความสุข ซึ่งเกิดจากตัวเรากระทำกับสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่สิ่งแวดล้อมทำให้เราเกิดความสุขหรือความทุกข์ การตระหนักถึงข้อเท็จจริงข้อนี้จะทำให้เราก้าวข้ามขีดจำกัด หรืออยู่เหนือสามัญสำนึกพื้นฐานนั้นเอง
หากเปรียบเทียบกับศาสนาพุทธ พระพุทธเจ้าสอนว่า ความทุกข์ไม่ได้เกิดมาจากโชคร้าย หรือจากความอยุติธรรมในสังคม หรือจากอำนาจศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ ในทางกลับกัน ความทุกข์มีต้นเหตุมาจากรูปแบบของความนึกคิดของแต่ละคนนั้นเอง ไม่ว่าจิตจะประสบพบกับสิ่งใดก็ตาม มันจะตอบสนองด้วยกิเลสอย่างใดอย่างหนึ่ง และกิเลสนั้นก็นำไปสู่ความทุกข์ยากไม่พอใจอยู่เสมอ หากจิตประสบกับบางอย่างที่ไม่พึงใจ มันก็อยากจะกำจัดสิ่งนั้นทิ้งไป แต่หากจิตประสบกับบางอย่างที่พึงใจ มันก็อยากให้สิ่งนั้นคงอยู่และอยากได้เพิ่มอีก ทั้งหมดนี้เป็นสามัญสำนึกพื้นฐานของมนุษย์
ในทัศนะทางจิตวิทยา ทฤษฎีนี้เพียงแค่อธิบายให้เราตระหนักถึงความเข้าใจพื้นฐานดังกล่าว ที่วิ่งวนอยู่ในตัวเรา ทำให้เราวิ่งตามมันเหมือนหนูติดจั่น หากเราเข้าใจมัน ยอมรับมัน พฤติกรรมที่ตอบสนองต่อทั้งความสุข และความทุกข์ที่เกิดขึ้นก็จะเปลี่ยนแปลงไป เพียงแค่นี้ก็ทำให้เราสามารถอยู่เหนือสามัญสำนึกพื้นฐานได้แล้ว อย่างไรก็ตามพระพุทธเจ้าได้แนะนำวิธีการหลุดพ้นจากสามัญสำนึกดังกล่าว ซึ่งเป็นวิธีการที่ยากมาก
พระพุทธเจ้าคิดค้นวิธีการทำสมาธวิปัสสนาขึ้นชุดหนึ่ง เพื่อใช้ฝึกจิตให้มองสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องพบเจออย่างที่เป็นจริง โดยไม่ต้องมีความอยากมาเกี่ยวข้อง การฝึกจิตแบบนี้ต้องอาศัยการเพ่งความสนใจไปกับคำถามเช่น "ฉันประสบกับอะไรอยู่ตอนนี้" ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจถึงสภาวะจิตแบบนี้ได้แต่ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ เมื่อเรามองเห็นกิเลสที่เกิดขึ้นและดับมันได้ กิเลสหรือความอยากก็จะถูกแทนที่ด้วยความสงบและความพึงใจอย่างสมบูรณ์แบบที่รู้จักกันชื่อ "นิพพาน" หมายถึง "การดับไฟ"
ผู้ที่เข้าถึงนิพพานได้ จะได้รับการปลดปล่อยจากความทุกข์ทั้งมวล คนเหล่านี้จะรับรู้ทุกอย่างตามความเป็นจริงอย่างแจ่มชัดที่สุด ปราศจากความคิดฟุ่งซ่านและมายาคติ แต่ประสบการณ์เหล่านั้นก็ไม่ได้ทำให้พวกเขาเกิดความทุกข์ยากในจิตใจอีกต่อไป กลายเป็นคนที่ไม่มีกิเลส ไม่มีความทุขก์อีกต่อไป คำสอนของพระพุทธเจ้าจึงสามารถสรุปได้ว่า ความทุกข์เกิดจากกิเลส และวิธีการเดียวที่จะสิ้นทุกข์ได้ ก็คือขจัดกิเลสให้หมดไป ซึ่งวิธีการนั้นจะต้องอาศัยการฝึกฝนจิตให้รับรู้ความจริงของโลกในแบบที่มันเป็น
ผมยกทัศนะของพุทธขึ้นมาเนื่องจากมันมีความสอดคล้องและต่อยอดจากทฤษฎนี้ได้ อย่างไรก็ตาม ผมก็ไม่ได้คิดว่าตัวเองจะสามารถทำแบบที่พระพุทธเจ้าทำได้ และก็คงไม่พยายามด้วย เพราะสามัญสำนึกคือธรรมชาติของมนุษย์ หากเราเข้าใจ และยอมรับกับสิ่งที่มันเป็น เข้าถึงความจริงว่ามนุษย์เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่ได้สำคัญอะไรมากมาย เราจะถ่อมตัวมากขึ้น และเห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น อีกทั้งยังเมตตาต่อตนเองมากขึ้นด้วย ในขณะที่การเข้าถึงนิพพานจะต้องฝึกจิตและใช้ความอดทน ความพยายาม และจิตที่ตั้งมั่นมหาศาลอย่างมาก
กฎที่สำคัญของแนวคิดของมาสโลว์ คือทุกขั้นจะข้ามไปไม่ได้ จะต้องค่อยๆไล่ขึ้นไป ไม่จำเป็นว่าเมื่อเราแก่เราจะค้นพบอัตลักษณ์แห่งตน เราอาจจะไม่มีความต้องการที่จะเป็นที่ยอมรับของสังคมเลยก็ได้เช่นกันจะเห็นว่า ขั้นที่ 1-3 เป็นความต้องการทั่วไป ที่เรียกว่า Basic needs และก็ 3-8 จะเป็นความต้องการ Being needs (ขั้นที่ 3 เป็นจุดเชื่อม) ผมมองว่าขั้นที่ 1-7 เราสามารถไปถึงได้ มันไม่ใช่เรื่องยาก มันเป็นเรื่องทั่วๆไป แต่ขั้นที่ 8 (ซึ่งอาจไม่ได้รับการยอมรับมากนัก เพราะมันเป็นเรื่องจิตวิญญาณเกินไป) เป็นขั้นที่ไปถึงได้ยาก และในมุมมองของผมเราไม่จำเป็นจะต้องอยู้เหนือที่สรรพสิ่งขนาดนั้น เราเพียงแค่ค้นพบตัวเอง ไม่ดำเนินชีวิตไปตามบทเพลงของผู้อื่น ของวัฒนธรรม ของสังคม เราควรที่จะมีอิสระและมีสิทธิในการกำหนดหนทางหรือเส้นทางของตัวเอง พัฒนาตัวเองตามแบบฉบับของตัวเอง หากเรามีทัศนคติแบบนี้ นั้นคือเรากำลังอยู่ในขั้นที่ 7 ของแนวคิด Maslow's Hierarchy of Needs
สามารถอ่านบทความอื่นเพิ่มเติมจากลิ้ง สารบัญ
อ้างอิง
Harari, N. Y. (2015). Sapiens a Brief History of Humankind NY: Harper.
อ้างอิง
Harari, N. Y. (2015). Sapiens a Brief History of Humankind NY: Harper.
Maslow, H. (1970). Motivation and personality. New York: Harper and Row.
McLeod, S. (2020). Maslow's Hierarchy of Needs. simplypsychology.org/maslow.html.
สุรางค์ โค้วตระกูล. 2559. จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
McLeod, S. (2020). Maslow's Hierarchy of Needs. simplypsychology.org/maslow.html.
สุรางค์ โค้วตระกูล. 2559. จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ขอบคุณมากที่เผยแพร่บทความดีๆ ค่ะ ตอนนี้กำลังศึกษางานเกี่ยวกับความต้องการของมนุษย์ ขออนุญาตนำบางส่วนไปใช้อ้างอิงในงานนะคะ
ตอบลบยินดีครับ
ลบประทับใจสุดๆเลยครับ
ตอบลบขอบคุณมากๆเลยนะค่ะ ที่ทำให้รู้จักเรื่องนี้ ^_^
ตอบลบดีมากเลยค่ะ จะได้นำไปอ้างอิงบทความวิชาการบ้างค่ะ
ตอบลบTranscendence Need ที่อธิบายน่าจะแปลความมาไม่ตรงนะครับ
ตอบลบขอบคุณมากๆคะ
ตอบลบ