ทฤษฎีพัฒนาการจริยธรรมของโคลเบิร์ก (Lawrence Kohlberg)

            ลอเลนซ์ โคลเบิร์ก (Lawrence Kohlberg) ได้ปฏิวัติการศึกษาด้านศีลธรรมในช่วงปี 1960 โดยใช้นวัตกรรม 2 ประการ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ lawrence kohlbergอย่างแรก  โคลเบิร์กได้พัฒนาวิธีศึกษาของ Jean Piaget ในเรื่องเกี่ยวกับความคิดเชิงเหตุผลของเด็กเปลี่ยนแปลงอย่างไรเมื่อโตขึ้น โดยที่เขาได้สร้างชุดคำถามที่ประกอบด้วยเหตุการณ์ที่มีทางเลือกที่ยาก 2 ทาง และทดสอบกับเด็กที่มีอายุต่างกันหลายระดับ เช่น "สมควรหรือไม่ที่ชายคนหนึ่งชื่อนาย A เข้าไปขโมยยาในร้านขายยาแห่งหนึ่ง เพื่อเอายานั้นไปช่วยชีวิตภรรยาของเขาซึ่งกำลังจะตาย" หรือ "สมควรหรือไม่ที่เด็กหญิง B สารภาพกับแม่ว่าน้องสาวของเธอโกหกแม่" เขาได้บันทึกและแยกประเภทการตอบสนองของเด็กไว้ สิ่งที่เขาสนใจไม่ใช่คำตอบว่าถูกหรือผิด แต่สิ่งที่เขาสนใจคือเหตุผลที่เด็กเหล่านั้นยกมาอ้างเมื่อพวกเขาพยายามอธิบายคำตอบของพวกเขา

แนวคิดของโคลเบิกร์กได้พบขั้นของการพัฒนาการให้เหตุผลของเด็กเกี่ยวกับสังคมโลกเป็น 3 ระยะ 6 ขั้น และขั้นการพัฒนานี้สอดคล้องกับการให้เหตุผลของเด็กที่มีต่อโลกทางกายภาพที่ Jean Piaget ศึกษา

ทฤษฎีพัฒนาการจริยธรรมของโคลเบิร์ก (Lawrence Kohlberg)

            ระยะที่ 1 ก่อนมีการมีวิจารณญาณทางศีลธรรม (Pre-Conventional level of Judgment) (2-10 ปี)ในระยะนี้จะสอดคล้องกับระยะการพัฒนาของ Piaget ที่ว่า "เด็กตัดสินโลกทางกายภาพตามลักษณะที่ผิวเผิน (ถ้าแก้วไหนสูงกว่าแก้วนั้นมีน้ำมากกว่า) เด็กจะไม่มีวิจารณญาณทางศีลธรรม ดังนั้นเด็กจะรับรู้กฎเกณฑ์ของพฤติกรรมที่ ดี และ ไม่ดี จากผู้ที่มีอำนาจเหนือเด็ก เช่น ผู้ปกครอง หรือครู ซึ่งเด็กจะคำนึงถึงผลรางวัลที่จะตามมา กล่าวคือเด็กในวัยนี้จะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง (ตามการศึกษาของ Piaget)

                ขั้นที่ 1 จริยธรรมภายใต้การควบคุมของผู้อื่น (Heteronomous Morality) (2-7ปี) ในขั้นนี้เด็กจะตัดสินสิ่งที่ "ถูกต้อง" หรือ "ผิด" จาการที่เด็กได้รับรางวัลหรือการลงโทษ ยกตัวอย่างเช่น นายฺ B ทำร้ายนาย A แต่ครูทำโทษใน A เด็กในช่วงวัยนี้จะมองว่านาย B ถูกต้อง และ นาย A ผิด เนื่องจากนาย A โดนทำโทษ ดังนั้นการให้รางวัลและการลงโทษจึงเป็นสิ่งที่เด็กจะเรียนรู้การถูกผิดในช่วงต้น

                ขั้นที่ 2 จริยธรรมในฐานะเป็นเครื่องมือและเปลี่ยนเพื่อประโยชน์ตน (Individualism, Instrumental Purpose and Exchange) (7-10 ปี) ในขั้นนี้เด็กจะเลือกที่จะทำตามความพอใจของตนเอง และให้ความสำคัญกับรางวัล ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ หรือคำพูดก็ตาม ซึ่งเหมือนกับในขั้นแรกที่เด็กจะไม่คำนึงถึงความถูกต้องของสังคม หรือค่านิยม แต่เด็กจะสนใจทำตามข้อบังคับ เพื่อประโยชน์ของตนเอง กล่าวคือรางวัลจะเป็นแรงจูงใจให้เด็กแสดงพฤติกรรม รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนความต้องการกับผู้อื่นอย่างเสมอภาค

            หากจะถามว่าขั้นนี้แตกต่างอย่างไรกับขั้นที่แล้ว ในความจริงแล้วก็ไม่ได้แตกต่างอะไรมาก เพียงแต่ว่าเด็กในช่วงวัย 7 - 10 ปีจะให้ความสำคัญอย่างมากกับรางวัลเป็นพิเศษ แต่ก็ยังมีการพยายามหลบเลี่ยงการลงโทษอยู่

            ระยะที่ 2 การมีวิจารณญาณทางศีลธรรม (Conventional Stages) เด็กจะสามารถเข้าใจ และสร้างกฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผนทางสังคม เนื่องจากเป็นช่วงอายุที่เด็กยึดกฎเกณฑ์ เช่น การที่เราไปขับรถซิ่งกลางถนนไม่ผิด หรือ การมองหน้าคือการหาเรื่อง ชวนให้วิวาทกัน เรามักเห็นตัวอย่างเหล่านี้ในสังคมเสมอ ซึ่งในเด็กวัยนี้มักใส่ใจเรื่องการยอมตามมาก และ เคารพสิทธิอำนาจ ด้วยคำพูด ไม่ใช่การกระทำ เด็กในช่วงนี้จะไม่ตั้งคำถามถึงความถูกต้องกับสิ่งที่ผู้ใหญ่ยัดเยียดให้เขา

                ขั้นที่ 3 จริยธรรมตามความคาดหวังของคนใกล้ชิด (Mutual Interpersonal Expectations Relationships and Interpersonal Conformity) (10-13ปี) ในขั้นนี้เด็กจะทำตามที่ผู้อื่นเห็นชอบ และจะแสดงพฤติกรรมที่เป็นที่ยอมรับกับบุคคลที่มีอิทธิพลต่อเด็ก คำว่าอิทธิพลไม่ได้หมายถึงผู้ใหญ่ที่มีอำนาจ และเป็นคนที่เด็กให้การยอมรับ ซึ่งมักจะเป็นกลุ่มเพืือน เนื่องจากพฤติกรรมตามวัยของเด็กที่จะให้ความสำคัญกับเพื่อนเป็นพิเศษ ซึ่งหากผู้ปกครองหรือครูมีอิทธิพลมากกว่ากลุ่มเพื่อน เด็กจะให้ความสำคัญกับครูหรือผู้ปกครองมากกว่า

                ขั้นที่ 4 จริยธรรมตามระเบียบและความรู้สึกผิดชอบชั่วดี (Social System and Conscience) (13-16ปี) ในขั้นนี้เด็กจะมีหลักการหน้าที่ของสังคม ปฏิบัติตามหน้าที่ของสังคมอย่างเคร่งครัด และหน้าที่ที่สมาชิกทั้งในกลุ่มเพื่อน หรือบุคคลรอบตัวยึดถือ เรียกว่า "ค่านิยม" เช่นการนับถือศาสนา การความชอบทางด้านการเมือง เรามักพบเห็นเด็กในวัยนี้ ตัดสินใจชอบพรรคการเมือง หรือบุคคลทางการเมืองตามบุคคลรอบตัว เช่น เพื่อน ครู พ่อ หรือ แม่ และจะเกลียดบุคคลที่คนเหล่านี้เกลียด เด็กในวัยนี้จะปฏิบัติตนตามกฎระเบียบไม่ว่าจะเป็นทางกฎหมาย หรือระเบียบของสถาบัน

            แนวคิดของ Kohlberg นั้นไม่ได้หมายความว่าเมื่อเด็กมีอายุสูงขึ้น ขั้นแต่ละขั้นจะยกระดับ เช่น เด็กที่อยู่ในขั้นที่ 4 จะ ปฏิบัติตัวไปตามค่านิยมของกลุ่ม แต่การศึกษาของเขา จะเน้นการตัดสินความถูกต้องของเด็ก ซึ่งมีลักษณะแตกต่างไปตามวัย กล่าวคือ ถึงแม้เด็กอายุ 13 - 16 ปีจะตัดสินความถูกต้องกฎระเบียบของสังคม แต่ไม่ได้หมายความว่าเด็กคนนี้จะต้องปฏิบัติตนตามระเบียบนั้นอย่างแข็งขัน  เพราะปัจจัยที่เด็กแสดงพฤติกรรมมีหลายปัจจัย

            หลังจากระยะที่ 2 ขั้นที่ 4 ไปแล้ว (16ปีขึ้นไป) จะเป็นวัยที่ Piaget ศึกษาและพบว่าเด็กจะมีความสามารถคิดเชิงนามธรรม Kohlberg พบว่าเด็กบางคนเริ่มคิดเกี่ยวกับธรรมชาติของสิทธิอำนาจ ความหมายของความยุติธรรม และเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังกฎระเบียบและกฎหมาย

            ระยะที่ 3 หลังการมีวิจารณญาณทางศีลธรรม (Post-Convention Stages) ในขั้นที่ 4 เราจะเห็นได้ว่าเด็กวัยนี้จะปฏิบัติตนไปตามค่านิยม กฎหมาย ระเบียบ หรือ ข้อบังคับ แต่ในวัยนี้พวกเขาจะถามหาความถูกต้องเกี่ยวกับข้อบังคับ ค่านิยมเหล่านั้น หรืออาจจะมีการกระทำที่ขัดแย้งกับกฎเหล่านั้น แต่ให้ผลที่ดีมากกว่า สูงกว่า เช่นความยุติธรรม Kolhberg กล่าวว่าถึงในระยะนี้ว่า เป็นวัยที่เด็กเป็น "นักปรัชญาทางศีลธรรม" ที่พยายามแสวงหาระบบจริยธรรมของตนเอง ซึ่งในระยะชั่วชีวิตของคนคนหนึ่งอาจไม่สามารถมาถึงได้

                ขั้นที่ 5 จริยธรรมตามสัญญาประชาคม หรือ สิทธิประโยชน์อันชอบธรรมส่วนบุคคล (Social Contract or Utility and Individual Rights) บุคคลจะรู้สึกผิดกับกฎระเบียบทางสังคม และบุคคลจะมีเหตุผลในการเลือกกระทำโดยคำนึงถึงประโยชน์ของคนหมู่มาก ไม่ละเมิดสิทธิของผู้ใด เคารพการตัดสินใจของตนเองโดยไม่ถูกควบคุมจากผู้อื่น ในช่วงนี้บุคคลจะพยายามรวมค่านิมยมส่วนตนให้เข้ากับจริยธรรมสากลและกฎหมาย กล่างคือ ขั้นที่ 5 บุคคลยังคงยึดหลังเกฑ์ค่านิยมทางสังคมอยู่ แต่ยึดหลักทางมนุษย์และคนหมู่มากเข้ามาเพิ่มเติม

                ขั้นที่ 6 จริยธรรมหลักสากล (Universal Ethical Principles) ในขั้นนี้บุคคลจะยึดถือหลัการทางจริยธรรมสากล ซึ่งบุคคลจะตัดสินถูกหรือผิด ขึ้นอยู่กับมโนธรรมที่แต่ละคนยึดถือโดยคำนึงถึงความถูกต้องยุติธรรมและยอมรับในคุณค่าของความเป็นมนุษย์ มีอุดมคติประจำใจ มีความยืดหยุ่นต่อจริยธรรมของตนเอง และยึดถือความเท่าเทียมของมนุษย์ ซึ่งเรามักจะพบเห็นค่านิมยมบางอย่างที่ขัดแย้งกับหลักความเท่าเทียม เช่น ค่านิยมบูชาผู้สูงอายุ หรือบูชาตัวบุคคลมากเกินไป จนลดคุณค่าของบุคคลอื่น ๆ ลง ทั้ง ๆ ที่มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน

        สังคมในทุกสังคมของโลกนี้้มีความแตกต่างกัน คนจากอีกมุมหนึ่งของโลกมีจริยธรรมที่่แตกต่างจากคนไทย เช่น กฎหมายการทำแท้ง เป็นต้น ดังนั้นบุคคลในขั้นนี้จะประเมินด้วยมุมมองของตนเอง รวมไปถึงหลักความเท่าเทียม ความยุติธรรม เพื่อประเมินความถูกผิดที่เกิดขึ้นในสังคม ดังนั้นอาจเห็นได้ว่าบุคคลเหล่านี้มักจะมีความขัดแย้งกับค่านิยมหลักบ่อยครั้งเสมอ และเด็กหรือบุคคลที่สามารถเข้าถึงขั้นนี้ได้ (มีการตัดสินทางจริยธรรมที่เป็นปัจเจก) จะดูเหมือนเป็นคนที่แตกต่างและไม่เหมือนใคร

สามารถอ่านบทความอื่นเพิ่มเติมจากลิ้ง สารบัญ

อ้างอิง

Haidt J.  2012.  The Righteous Mind: Why Good People Are Divided by Politics and Religion.  New York: Pantheon.

McLeod,S.  2013.  simplypsychology.org/kohlberg.html.

สุรางค์ โค้วตระกูล.  2559.  จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ความคิดเห็น