ความเชื่อที่ไร้เหตุผลโดย (REBT)

        "กับดัก" มักจะเป็นคำที่ถูกใช้เมื่อการดำเนินชีวิตของเราไปติดกับอะไรสักอย่าง ที่ดึงเอาออกยาก ไม่ว่าจะเป็นกำดักความจน กับดักการศึกษา หรืออื่น ๆ แต่ในบทความนี้จะนำเสนอกับดักทางความเชื่อ เป็นกับดักเกี่ยวกับความเชื่อที่ไม่มีเหตุผลของเรา และความเชื่อเหล่านั้นพาเราไปสู่พฤติกรรม (การแสดงออก) ที่เป็นปัญหา ไม่ว่าจะเป็นความทุกข์ ความรู้สึกแย่ รู้สึกไม่ดี เศร้า เสียใจ รู้สึกไม่มีค่า ความรู้สึกเหล่านี้ เรามักคิดว่าถ้าเราสามารถแก้ไขได้ แต่จริง ๆ แล้วเป็นเรื่องที่ยากมากเนื่องจาก ความรู้สึกของเรามันเปลี่ยนได้ยาก รวมไปถึงพฤติกรรมด้วยเช่นกัน แต่ทั้ง 2 อย่างมันถูกเชื่อมโยงไปด้วยกลไกที่เรียกว่า "ความเชื่อ" ดังนั้นถ้าเราเปลี่ยนความเชื่อที่ไม่มีเหตุผลของเราได้ ก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงอารมณ์ และเปลี่ยนแปลงตัวเองได้


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ albert ellisแนวคิดทางจิตวิทยาการให้คำปรึกษา ที่พูดถึงความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผลของมนุษย์ชื่อว่า การให้คำปรึกษาแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม (Rational Emotive Behavior Therapy) แนวคิดนี้มองว่ามนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเหตุผล และไม่มีเหตุผล ซึ่งเกิดจากการล่อหลอมทางวัฒนธรรม ค่านิยม จนก่อให้เกิดการบิดเบือน ในขณะเดียวกันมนุษย์ก็มีความสามารถที่จะคิดอย่างสมเหตุสมผลได้ และจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้การคิดอย่างมีเหตุผล อย่างไรก็ตาม ความทุกข์หรือปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์นั้น เกิดจากการที่เรายอมให้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล หรือมีความคิด ความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผล โดย Albert Ellis (นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับแนวคิด REBT)ได้แบ่งความไม่สมเหตุสมผลของมนุษย์ออกเป็น 11 ประการดังต่อไปนี้

            1. เราต้องได้รับความรักและการยอมรับจากคนที่เราให้ความสำคัญ เป็นไปไม่ได้อยู่แล้วที่คนทุกคนที่เรารัก เขาจะต้องรักเรา ความรู้สึกเป็นเรื่องยากที่จะควบคุม แม้แต่ของตัวเราเองก็ตาม

            2. เราต้องมีค่า มีความสามารถ และประสบความสำเร็จ เป็นอีกความเชื่อที่เป็นกับดักที่สำคัญ เนื่องจากชีวิตของคนเราประกอบไปด้วยความผิดพลาดเสมอ ผิดพลาดซ้ำ ผิดพลาดซ้อม ความล้มเหลวจึงเกิดขึ้นได้เสมอ แต่ควรเกิดขึ้นพร้อมกับการเรียนรู้

            3. คนที่เป็นคนเลวควรถูกตำหนิและลงโทษ ความดี ความเลว ไม่ใช่สิ่งที่สามารถตัดสินได้ เนื่องจากคนล้านคน ล้านความคิด คนที่เราคิดว่าเลวอาจจะเป็นคนที่ดีที่สุดสำคัญอีกคนหนึ่ง คนที่เราคิดว่าดี อาจจะเป็นคนที่เลวที่สุดสำหรับอีกคนหนึ่ง

            4. มันเป็นเรื่องแย่ หากสิ่งที่เราต้องการให้เป็น ไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ คุณไม่สามารถได้ทุกอย่างที่ต้องการ เป็นความจริงที่สำคัญของโลกนี้ เพราะเงื่อนไขที่จะได้ตามที่เราต้องการนั้นยากมาก เราควรทำใจไว้แต่ต้น ๆ

            5. ความทุกข์หรือปัญหาเกิดจากเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่นอกเหนือการควบคุม ความเชื่อนี้่มีปัญหาอย่างมากในสังคมของเรา เพราะมีอำนาจที่นอกเหนือการควบคุมของเรามากมาย การที่เราคิดว่าทุกปัญหาเกิดจากอำนาจภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ทำให้เราขาดความมั่นใจ

            6. เราควรวิตกกังวลในสิ่งที่น่ากลัวและมีอันตราย เราจะต้องเข้าใจเสมอว่าความวิตกกังวลเป็นเรื่องธรรมดา เช่นเดียวกับความเครียด ความวิตกกังวลทำให้เราระมัดระวัง แต่ถ้ามีมากเกินไปจะทำให้เราไม่มีความกล้าที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง หรือกล้าแสดงออกทางด้านความคิดกับคนอื่น ๆ

            7. การไม่ยอมเผชิญความยากลำบาก และหลีีกเลี่ยงความรับผิดชอบเป็นสิ่งที่ง่ายกว่าการ
เผชิญกับมัน การหนีปัญหาเป็นเรื่องง่าย แต่ถ้าเราหนี เราก็จะไม่มีวันชนะ (ปัญหาก็จะไม่หมดไป) ถ้าไม่ชนะปัญหา มันก็ยังคงคอยวนเวียนและมักจะสร้างความลำบากให้เราเสมอ

            8. เราจำเป็นต้องพึ่งพาคนที่เข้มแข็งกว่าเรา ยิ่งเราพึ่งพาคนอื่น เราก็จะยิ่งอ่อนแอ และขาดความมั่นใจ ซึ่งจะมีผลต่อความกล้าของเรา ในข้อนี้จะตรงกับสังคมอุปถัมภ์ ซึ่งสร้างปัญหาอย่างมากในสังคมไทย เช่น เรารู้ว่าเราถูก แต่คนที่อายุมากกว่าเรา หรือ มีบุญคุณต่อเรา พวกเรา เราก็จะยอมว่าเราผิด ในการถกเถียง ส่งผลให้เกิดปัญหาตามมา

            9. เหตุการณ์ในอดีตเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมในปัจจุบันของเรา และมันไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แน่นอนเหตุการณ์ในอดีต ส่งผลถึงพฤติกรรมของเราในปัจจุบัน เช่น พ่อแม่ที่ตีลูก ลูกเติบโตขึ้นมาก็จะตีลูกของตนเองต่อเช่นกัน หรืออาจจะนิยมใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ทุกอย่างเปลี่ยนได้เสมอ ขึ้นอยู่กับความยาก ง่าย และวิธีการ

            10. บุคคลควรที่กังวลและเป็นทุกข์กับปัญหาของคนอื่น เป็นไปไม่ได้ที่เราจะแก้ปัญหาให้คนกับคนอื่น เพราะความสามารถในการแก้ปัญหาจะมีประสิทธิภาพได้ผู้ที่มีปัญหาแก้ไขด้วยตนเอง ถ้าเรามัวแต่ไปแก้ไขให้ปัญหาคล้าย ๆ กันหรือปัญหาเดิม ๆ ก็จะตามมาอีก ดังนั้นเครียดไปก็เท่านั้น เปลีย่นเป็นการมให้กำลังใจจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

            11. ปัญหาทุกอย่างสามารถแก้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ในความเป็นจริงไม่มีปัยหาอะไรที่สามารถแก้ไขอย่างสมบูรณ์ได้ เพราะคนเรามีวิธีแก้ปัญหาต่างกัน มีประสิทธิภาพบ้าง ไม่มีบ้าง ปัญหาบางอย่างแก้ไขแล้วก็ยังกลับเข้ามากวนจิตใจ ปัญหาบางอย่างแก้ไขแล้ว ปัญหาที่มีความคล้ายคลึงกลับเกิดขึ้นตามมา

            โดยในทฤษฎีการให้คำปรึกษาแบบ REBT มีความเชื่อว่า ความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผลเป็นสาเหตุของการเชื่อมโยงไปสู่อารมณ์และพฤติกรรมที่แสดงออกมาอย่างปราศจากเหตุผล ดังนั้นการช่วยให้บุคคลสามารถเปลี่ยนแปลง หรือสามารถแก้ไขปัญหาได้ จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงความเชื่อ ค่านิยม ของบุคคลที่มีปัญหา เพราะความเชื่อที่ไม่มีเหตุผลนำความทุกข์มาสู่ตัวของบุคคล

            นอกเหนือไปจากความเชื่อที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว คนเรายังมีความเชื่อหลัก ๆ ที่ส่งต่อมาตั้งแต่สมัยเด็ก ๆ และความเชื่อบางอย่างแทบไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งความเชื่อต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของประเทศเหล่านั้น การที่เราเชื่อในสิ่งที่มีอำนาจเหนือเรามาก ๆ มันจะทำให้ลดอำนาจในตัวเราอย่างมาก ส่งผลให้เราขาดความมั่นใจ และไม่มีความเข้มแข็ง เนื่องจากเราต้องพึ่งพาสิ่งที่มีอำนาจเหนือเรา ไม่ว่าจะเป็น พระเจ้า เทวดา สิ่งของศักสิทธิ์ หรือสิ่งศักสิทธิ์ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าเราจะเชื่อสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เลย แต่เราต้องบริหารความเชื่อเหล่านี้อย่างเหมาะสม ซึ่งยากอย่างมาก
"ชีวิตของคุณอาจมีควาหมายเป็นพัน ๆ แต่การมีค่านิยมหลัก ความเชื่อหลัก ความหมายหลักของชีวิต และถือมันไว้ตลอดกาล เป็นวิถีชีวิตที่โง่ โดยเฉพาะถ้าเป็นความเชื่อที่มีมาแต่เด็ก" Daniel Sloss

ความคิดเห็น