สงคราม เขตแดน และความเกลียดชัง หายนะแห่งความหลงผิด

"มนุษย์ไม่ใช่นักโทษของโชคชะตา แต่เป็นนักโทษของจิตใจตัวเอง"  
Franklin Delano Roosevelt

            ถ้าเราลองนึกถึกของเขต เราคงคิดถึงขอบเขตทั่วๆไป ไม่ว่าจะเป็นขอบเขตที่แบ่งกั้นระหว่างประเทศ จังหวัด อำเภอ แม้แต่เขตแต่ละเขตเวลาที่เรานั่งรถผ่านไปจะมีป้ายบอกว่าคุณกำลังเข้าเขตนี้นะ เช่นเดียวกันกับจังหวัด แม้แต่ในประเทศยุโรปที่มีเส้นแบ่งเขตติดกัน ก็มีเส่นแบ่งที่ชัดเจน

            ในประวัติศาสตร์ไทยมีเขตแดนการปกครองที่กว้างใหญ่ แต่ด้วยสงครามล่าอาณานิคม ทำให้ต้องแบ่งดินแดนให้กับประเทศที่มีกำลังรบมากกว่า ซึ่งต่างกับประเทศเพื่อนบ้านรอบ ๆ หรือประเทศในทวีปอเมริกา โดยเฉพาะอเมริกาใต้ที่โดยชาวสเปนเข่นฆ่า ใช้เป็นแรงงานทาส

            โดยเฉพาะช๊อคโกแลตที่เรากินกันอยู่ทุกวันนี้ก็มีที่มาจากประวัติศาสตร์ในช่วงนั้น ดังนั้นมันจึงหมายถึงว่าชาวสเปนได้ยึดครองทวีปอเมริกาใต้แทบทั้งหมด ชนเผ่าดั่งเดิมไม่ได้เป็นเจ้าของเขตแดนอีกต่อไปแล้ว เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจเพราะมันแสดงให้เห็นว่าเขตแดนมันไม่ได้มีเจ้าของที่แท้จริง 

            ต่อไปลองมองกลับไปในประวัติศาสตร์อินเดีย ที่เคยเป็นไทและปกครองด้วยตนเอง จนกระทั่งโดนประเทศอังกฤษยึดเป็นอาณานิคม จากการปกครองด้วยตนเองของอินเดียกลายเป็นการปกครองโดยอังกฤษ แต่เมื่อมาถึงยุคที่มีความพยายามจะต่อสู้เพื่อเอกราช โดยประชาชนชาวอินเดียรวมทั้งเด็กๆทั้งหลาย บุคคลที่โดดเด่นในช่วงนั้นคือ มหาตมา คานธี (Mahatma Gandhi) 

            อย่างไรก็ตามประชาชนชาวอินเดียได้ช่วยกันต่อสู้จนอังกฤษต้องยอมให้เอกราชกับชาวอินเดีย อินเดียจึงได้กลับมาปกครองตนเองอีกครั้งหนึ่ง หรืออย่างที่เกิดขึ้นกับประเทศเพื่อนบ้านของไทย จากที่เคยถูกปกครองโดยประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอังกฤษ หรือฝรั่งเศส

สงคราม เขตแดน และความเกลียดชัง คือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเองทั้งนั้น เป็นความหลงผิดร่วมกัน

            แต่นั้นก็เป็นตัวอย่างของการเปลี่ยนผ่านเขตแดนแบบไม่ได้เร็วมาก กล่าวคือใช้เวลาหลายสิบหลายร้อยปีถึงจะเปลี่ยนผ่านกลับมาปกครองดั่งเดิมได้สำเร็จ ต่อไปนี้ผมจะยกตัวอย่างการช่วงชิงเขตแดนมาปกครองเพียงเวลาอันสั้น ซึ่งเกิดขึ้นในสงครามโลกครั้งที่ 2 (1938-1946) ที่นาซีเยรมัน (จักวรรษไรซ์ที่ 3) ได้บุกยึดดินแดนต่าง ๆ ในทวีปยุโรป จนเกือบจะครอบครองได้ทั้งยุโรป เช่นเดียวกับนโปเลียน โบนาปาร์ต (ที่1) แต่ก็พาดท่าพ่ายแพ้สงครามไปในที่สุด โดยกองทัพสัมพันธมิตรที่มีหลายประเทศร่วมมือช่วยกัน และปลดปล่อยเขตแดนที่ถูกยึดเหล่านั้นให้เป็นอิสระ

            ผมยกตัวอย่างมายืดยาวเพื่อให้ผู้อ่านตระหนักว่า ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ไม่มีเขตแดนของใครถาวร ถ้าหากประเทศไทยเราโดนรุกราน และยึดครองไป เขตแดนนี้ก็จะไม่ได้เป็นของคนไทยอีกต่อไป เช่นเดียวกับที่เกิดกับประเทศอื่น ดังนั้นประวัติศาสตร์โลกแค่ไม่กี่ร้องปีก็ยังทำให้เราได้เห็นว่าไม่มีใครเป็นเจ้าของเขตแดนที่แท้จริง แล้วเขตแดนเป็นของใครกันแน่

            ในสมัยโบราณเราเริ่มจากปัจเจก มาสู่กลุ่ม จากหลาย ๆ กลุ่มไปสู่สังคม จากหลาย ๆ สังคมไปสู่อาณาเขต หลาย ๆ อาณาเขตรวมกันเป็นประเทศ เป็นชาติขึ้นมา เราจะเห็นว่าชาติเป็นการขยายตัวของการปกครอง หลังจากที่ชาติเกิดขึ้นมา มนุษย์ที่อยู่ในชาติเหล่านั้นก็รู็สึกว่า "นี้คือชาติเป็นของเรา" กลายมาเป็นที่มาของคำว่า "ชาตินิยม" หลังจากนั้นประเทศไหนที่ต้องการจะขยายดินแดนก็จะทำสงคราม รบฆ่าฟันกัน บางครั้งแย่งดินแดนหรือทรัพยากร 

แล้วทำไมคนเราถึงได้เป็นเครื่องมือของรัฐแล้วฆ่าฟันคนอื่น

            ผมอยากจะสรุปว่า เราเรียนรู้มาทั้งชีวิตเพื่อคิดว่าเราถูกต้องเสมอ และสิ่งที่เราจับต้องล้วนเป็นความจริงไปเสียหมด แต่สุดท้ายเมื่อเราลืมตาขึ้นจากความเป็นจริงที่เราเคยมีประสบการณ์มา เราพบว่าสิ่งที่เราคิดมานั้นมันผิดมาตลอด ความจริงในมือเรามันแปรเปลี่ยนไปเป็นความผิดพลาด ชัยชนะที่เราได้มานั้น กลายเป็นคราบเลือดในมือเรา เราทำลายความเป็นปัจเจกอันสมบูรณ์แบบที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา กลายไปเป็นความโสโครกของคำว่าสังคม 

"ประสบการณ์เป็นครูที่โหดร้าย แต่คุณก็ยังได้เรียนรู้ พระเจ้าของข้า ท่านได้เรียนรู้แล้วหรือยัง" 
C. S. Lewis

ความคิดเห็น