แอปเปิลที่ยังไม่สุกดี คือแอปเปิลที่ยังไม่ได้โตเต็มที่ ไม่ครบถ้วน และไม่สมบูรณ์ เพราะอย่างนั้นมันจึงสวยงาม - อดัม แกรนต์ (Adam Grant)
หากเรานึกถึงประสบการณ์ชึวิตทึ่ผ่านมาจะพบว่า การเติบโตของเรามักเกิดขึ้นผ่านการประสบความไม่สมบูรณ์แบบและความท้าทายในชีวิตประจำวัน เช่น ความล้มเหลวในการทำงาน ความผิดหวังในความสัมพันธ์ หรือความเสียหายจากสถานการณ์ความขัดแย้ง การแสดงความทนทานและการปรับตัวต่อสถานการณ์เหล่านี้มีบทบาทสำคัญในกระบวนการพัฒนาตนเอง บทความนี้ผมจำอยากนำสนอการเติบโตที่มีต่อความไม่สมบูรณ์แบบเหล่านี้ โดยการใช้ประสบการณ์เชิงบวกเพื่อสร้างพลังใจและการเรียนรู้ที่มีคุณค่าในการพัฒนาตนเองของพวกเราทุกคน
การเติบโตพร้อมกับความไม่สมบูรณ์แบบเป็นเรื่องธรรมดาที่เราทุกคนสามารถเผชิญได้ เราสามารถพัฒนาและเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ไม่สมบูรณ์และท้าทายได้เช่นกัน ในทางปฏิสัมพันธ์กับความทุกข์ทุกประสบการณ์ มนุษย์มีความสามารถในการเรียนรู้และปรับตัวต่อสถานการณ์ที่แตกต่างกันอย่างมากมาย ดังนั้น ความไม่สมบูรณ์แบบไม่ใช่สิ่งที่จะขัดขวางการเติบโตของเรา แต่เป็นโอกาสในการพัฒนาและเรียนรู้ใหม่ ๆ ที่จะทำให้เราเติบโตได้มากขึ้นในทางที่หลากหลาย
ความไม่สมบูรณ์แบบที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น ความล้มเหลว ความผิดหวัง หรือความทุกข์ที่เกิดขึ้นในชีวิต เมื่อเราเผชิญหน้ากับสถานการณ์แบบนี้อย่างเป็นอิสระ มันช่วยเสริมสร้างทักษะการต่อสู้ เช่น การจัดการความเครียด การเรียนรู้จากข้อผิดพลาด และการเป็นอยู่ที่มีสมดุล ด้วยเหตุนี้มันจึงไม่ใช่ข้อเสียเสมอไปเมื่อเราจะต้องเผชิญกับความอึดอักไม่สบายของชีวิต
เราทุกคนต่างต้องเดินบนเส้นทางชีวิตมักมีการเผชิญหน้ากับความท้าทายและความไม่สมบูรณ์ การพัฒนาตนเองเหมือนกับการเดินในทางที่แคบและซับซ้อน ที่ต้องเผชิญกับปัญหาและความสับสนต่างๆ ของชีวิต เข้าใจว่าชีวิตไม่เป็นทางตรงเสมอไป แต่มีการปรับตัวและเรียนรู้จากความผิดพลาดเป็นสิ่งสำคัญในการเจริญเติบโตไปด้วยความสำเร็จ
ลีโอนาร์ด โคเฮน (Leonard Cohen) นักดนตรีและนักเขียนเนื้อเพลงชาวแคนาดาที่มีผลงานทางดนตรีและวรรณกรรมที่มีผลกระทบต่อวงการศิลปะและวัฒนธรรมอย่างมาก เคยกล่าวไว้ว่า "เราสามารถหาจุดกลมกล่อมระหว่างรอยตำหนิและความสมบูรณ์แบบ" การพัฒนาตนเองอาจเปรียบเสมือนการเดินข้างบนทางเล็ก ๆ ที่เต็มไปด้วยรอยตำหนิเราสามารถประสานระหวางรอยดังกล่างกับอุดมคติสมบูรณ์แบบที่เราตั้งเป้าเอาไว้ได้
เราสามารถหาจุดกลมกล่อมระหว่างรอยตำหนิและความสมบูรณ์แบบ |
ชีวิตเรามันเป็นแบบนั้นครับ ไม่มีอะไรที่สมบูรณ์แบบ ต่อให้คุณเป็นคนที่ปรารถนาในความสมบูรณ์แบบสุดท้าย เราก็ต้องปรับตัวและยอมรับรอยตำหนิบางอย่างที่เกิดขึ้น แต่การจะยอมรับ ปรับตัว ทำใจ ปล่อยวางได้มากแค่นั้น มันขึ้นอยู่กับปัจจัยส่วนบุคคล และประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมา
ในหนังสือ Hidden potential: How curiosity can change the world อดัม แกรนต์ (Adam Grant) ได้เล่าถึง ทาดาโอะ อันโดะ (Tadao Ando) นักสถาปัตยกรรมชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงระดับโลก ทาดาโอะเป็นผู้ที่มีผลงานสถาปัตยกรรมที่มีความหลงใหลในการใช้วัสดุธรรมชาติ แกรนต์ไม่ได้เล่าประวัติของอันโดะโดยตรง แต่เล่าถึงผลงานของอันโดะที่สามารถประนีประนอมงบประมาณและความปรารถนาของตนเองได้
แกรนต์อธิบายว่า ทาดาโอะ อันโดะ ตระหนักดีว่าการจะมีวินัยกับอะไรสักเรื่อง เราจำเป็นที่จะต้องปล่อยเรื่องอื่นไป สิ่งที่อันโดะแตกต่างจากนักสถาปนิกที่มีชื่อเสียงท่านอื่นนอกเหนือจากงานสถาปัตยกรรมที่มีความหลงใหลในการใช้วัสดุธรรมชาติแล้ว แต่ยังเป็นเรื่องการตัดสินใจว่าเมื่อไหร่ควรผลักดันให้ผลงานออกมาดีที่สุด และเมื่อไหร่ควรจะหยุดอยู่แค่ระดับดีพอ
การเรียนรู้จากประสบการณ์ที่หลากหลายและท้าทาย
ประสบการณ์ที่หลากหลายทำให้เกิดความท้าย เพราะมันทำให้เราออกจากจุดที่เรารู้สึกว่าปลอดภัย ในระหว่างทางเราจะต้องเผชิญกับความผิดพลาดและความล้มเหลว มีการศึกษาที่พบว่า การเรียนรู้จากความล้มเหลวและข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เป็นกระบวนการที่ช่วยให้บุคคลเติบโตและพัฒนาศักยภาพของตนเองได้มากขึ้น (Tugade & Fredrickson, 2004)
นอกจากนั้นการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างเชื่อมั่นผ่านการเผชิญหน้ากับความท้าทาย เป็นการช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งและความพร้อมในการจัดการกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก (Masten, 2001)
การเรียนรู้จากความท้าทายเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาบุคลิกภาพ ซึ่งประสบการณ์ที่ท้าทายทำให้เราได้เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ และมีความสามารถในการตัดสินใจที่ดีขึ้นในอนาคต (Dweck, 2006) อีกทั้งการเผชิญหน้ากับความท้าทายสามารถกระตุ้นการเรียนรู้และความพร้อมในการจัดการกับอุปสรรค ทำให้เราเติบโตและพัฒนาความสามารถในการปรับตัวต่อสถานการณ์ยากลำบากที่เกิดขึ้น (Yeager et al., 2013)
ดังนั้นการเติบโตไปพร้อมกับความไม่สมบูรณ์แบบเป็นกระบวนการที่สำคัญในการพัฒนาบุคลิกภาพและการปรับตัวต่อสถานการณ์ในชีวิต เหมือนกับที่ อดัม แกรนต์ (Adam Grant) กล่าวไว้ว่า "แอปเปิลที่ยังไม่สุกดี คือแอปเปิลที่ยังไม่ได้โตเต็มที่ ไม่ครบถ้วน และไม่สมบูรณ์ เพราะอย่างนั้นมันจึงสวยงาม" การศึกษาและการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่หลากหลาย รวมถึงการเผชิญหน้ากับความท้าทาย
จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสร้างพลังและความเข้มแข็งให้กับเราในการเติบโตและพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณค่า
อ้างอิง
Dweck, C. S. (2006). Mindset: The new psychology of success. Random House.
Grant, A. (2023). Hidden potential: How curiosity can change the world. Viking.
Masten, A. S. (2001). Ordinary magic: Resilience processes in development. American Psychologist, 56(3), 227-238.
Tugade, M. M., & Fredrickson, B. L. (2004). Resilient individuals use positive emotions to bounce back from negative emotional experiences. Journal of Personality and Social Psychology, 86(2), 320-333.
Yeager, D. S., & Dweck, C. S. (2013). Mindsets that promote resilience: When students believe that personal characteristics can be developed. Educational Psychologist, 48(4), 302-314.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น