หนึ่งในปัญหายอดนิยมของประเทศที่กำลังพัฒนา คือปัญหาทางด้านการศึกษา ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในหลายประเทศที่มีการถกเถียงและพยายามที่จะพัฒนาระบบการศึกษาไม่ว่าจะเป็น ปฐมวัย ประถม มัธยม และอุมดมศึกษา "ซึ่งในบทความนี้จะพูดถึงวัยปฐมวัยเป็นหลัก ไม่เพียงแต่ปฐมวัยที่เป็นวัยที่เด็กเรียนอนุบาลเท่านั้น แต่จะกล่าวถึงเด็กที่กำลังจะเกิด ไปจนถึงเข้าเรียนอนุบาล และในบทความจะพยายามเสนอการพัฒนาประเทศโดยเริ่มจากเด็กในวัยเริ่มต้น ไม่ว่าจะเป็นสวัสดิการด้านสุขภาพ และการศึกษาที่ฟรี การใช้กระบวนการทางจิตวิทยา และสังคมสงคราะห์เพื่อช่วยเหลือเด็กและครอบครัวให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข" ในประเทศชั้นนำของโลกโดยเฉพาะประเทศในทวีปยุโรปที่มีการดูแลส่งเสริมและพัฒนาเด็กโดยเริ่มจากเด็กในวัยปฐมวัย ในการศึกษาของ Jame Heckman ได้ศึกษาเกี่ยวกับการแทรงแซงการช่วยเหลือตั้งแต่วัยปฐมวัย (ก่อนจะเข้าเรียน)
เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่านอกจากพันธุกรรมจะกำหนดสภาพทางร่างกาย สติปัญญาของตัวบุตรก็ตาม แต่สิ่งแวดล้อมก็มีผลอย่างมากเช่นเดียวกัน แม้ในปัจจุบันเรายังแก้ไขพันธุกรรมไม่ได้ แต่สิ่งแวดล้อมคือสิ่งที่เราสามารถพัฒนา ป้องกัน และแก้ไขได้ เนื่องจากสิ่งแวดล้อมนั้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาของเด็ก โดยเฉพาะกับครอบครัวที่ด้อยโอกาส จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการแทรงแซงหรือการพัฒนา
จากการศึกษาของ Heckman พบว่าเด็กเป็นจำนวนมากเกิดในครอบครัวที่ด้อยโอกาส และเด็กที่อาศัยในครอบครัวที่มีพ่อหรือแม่เพียงคนเดียวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และกลุ่มที่ทำให้อัตรานี้เติบโตมากที่สุดคือ เด็กกลุ่มที่อยู่ในครอบครัวที่แม่ไม่แต่งงาน ในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบที่อยู่กับแม่ที่ไม่แต่งงานนั้นมีอัตราร้อยละ 35 ที่แม่เรียนไม่จบมัธยมศึกษาตอนปลาย ปรากฎการณ์นี้เห็นได้ชัดในครอบครัวแอฟริกันอเมริกัน ซึ่งค้นพบว่าสภาพแวดล้อมของเด็กที่เกิดจากแม่ที่มีการศึกษามากกว่าจะแตกต่างกับแม่ที่มีการศึกษาน้อยกว่า
จาการศึกษานี้เราสามารถสรุปได้ว่าแม่ที่เรียนจบมหาวิทยาลัยอุทิศเวลาเลี้ยงลูกมากกว่าแม่ที่มีการศึกษาน้อยกว่า โดยเฉพาะในกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ซึ่งคุณแม่เหล่านี้ใช้เวลาอ่านหนังสือกับลูกมากกว่า และใช้เวลาดูโทรทัศน์กับลูกน้อยกว่า คุณแม่ที่มีการศึกษาดีมีลูกโดยไม่แต่งงานน้อยกว่าร้อยละ 10 พวกเขามักแต่งงานช้ากว่าอีกกลุ่ม หรือกล่าวได้ว่ามีลูกหลังจากที่เรียนจบไปแล้ว
คุณแม่ในกลุ่มหลังสุด (แม่ที่มีการศึกษา) มีทรัพยากรไหลเวียนสม่ำเสมอมาจากรายได้ของตนเองและคู่สมรส ซึ่งคุณแม่เหล่านี้จะมีจำนวนบุตรที่น้อยกว่า และมีการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเลี้ยงลูกได้ดีมากกว่า ทำให้เกิดความแตกต่างในระดับสติปัญญาและการจำคำศัพท์ของเด็กเป็นอย่างมาก ข้อได้เปรียบเหล่านี้เห็นได้ชัดเจนกับเด็กที่เกิดในครอบครัวที่มีชีวิตการแต่งงานที่มั่นคง นอกจากนี้ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา (การศึกษานี้เกิดขึ้นที่อเมริกา) คุณภาพการเลี้ยงดูเด็กในครอบครัวที่มั่งมีกับครอบครัวที่ยากไร้มีความแตกต่างกันมากขึ้น เพราะเด็กที่เกิดภายใต้ครอบครัวที่มีชีวิตการแต่งงานที่มั่นคงจะได้เปรียบอย่างมาก เมื่อเทียบกับเด็กที่เกิดภายใต้การสมรสแบบอื่น ๆ กล่าวโดยสรุปคือ คุณแม่ที่มีการสึกษาจะทำงานมากกว่า มีครอบครัวที่มั่นคงมากกว่า และให้เวลากับกิจกรรมที่เป็นไปเพื่อพัฒนาเด็กมากกว่าคุณแม่ที่มีการศึกษาน้อยกว่า
จะเห็นได้ว่าสถาบันครอบครัวมีความสำคัญอย่างมาก การพัฒนาการศึกษาไม่ว่าจะเป็นประถม มัธยม อุดมศึกษาที่ทางภาครัฐพยายามที่จะจัดการ แต่จะมีประสิทธิภาพมากที่สุดถ้าภาครัฐสามารถพัฒนาช่วยเหลือเด็กตั้งแต่ยังไม่เกิดจนถึงปฐมวัย ซึ่งสามารถช่วยเหลือเป็นรูปแบบสวัสดิการ การให้คำปรึกษาทางด้านจิตวิทยาเพื่อช่วยเหลือทางด้านจิตใจ และลดภาระทางด้านจิตใจของคุณแม่ตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงเกิดมา การใช้บุคลากรที่มีความรู้ทางจิตวิทยาพัฒนาการมาช่วยเหลือเพื่อพัฒนาเด็กให้สามารถเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงมีการควบคุมการคุมกำเนิดเพื่อลดการตั้งครรภ์อย่างไม่พึงประสงค์ และที่ขาดไปไม่ได้คือการศึกษาที่ฟรี และการรักษาพยาบาลที่ฟรี เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของทุกครอบครัว ลดความวิตกกังวล เพื่อให้ครอบครัวมีเวลาในการอยู่ร่วมกันกับลูก ทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อที่จะให้เด็ก ๆ เติบโตขึ้นมาเป็นกำลังสำคัญของชาติ และหยุดยั่งวงจรความจน ความเจ็บไปเสียที
อ้างอิง
Hackman, J. (2008). Schools, Skill, and Synapses. Economic Inquiry. Western Economic Association International, 46(3), 289-324.
เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่านอกจากพันธุกรรมจะกำหนดสภาพทางร่างกาย สติปัญญาของตัวบุตรก็ตาม แต่สิ่งแวดล้อมก็มีผลอย่างมากเช่นเดียวกัน แม้ในปัจจุบันเรายังแก้ไขพันธุกรรมไม่ได้ แต่สิ่งแวดล้อมคือสิ่งที่เราสามารถพัฒนา ป้องกัน และแก้ไขได้ เนื่องจากสิ่งแวดล้อมนั้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาของเด็ก โดยเฉพาะกับครอบครัวที่ด้อยโอกาส จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการแทรงแซงหรือการพัฒนา
จาการศึกษานี้เราสามารถสรุปได้ว่าแม่ที่เรียนจบมหาวิทยาลัยอุทิศเวลาเลี้ยงลูกมากกว่าแม่ที่มีการศึกษาน้อยกว่า โดยเฉพาะในกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ซึ่งคุณแม่เหล่านี้ใช้เวลาอ่านหนังสือกับลูกมากกว่า และใช้เวลาดูโทรทัศน์กับลูกน้อยกว่า คุณแม่ที่มีการศึกษาดีมีลูกโดยไม่แต่งงานน้อยกว่าร้อยละ 10 พวกเขามักแต่งงานช้ากว่าอีกกลุ่ม หรือกล่าวได้ว่ามีลูกหลังจากที่เรียนจบไปแล้ว
คุณแม่ในกลุ่มหลังสุด (แม่ที่มีการศึกษา) มีทรัพยากรไหลเวียนสม่ำเสมอมาจากรายได้ของตนเองและคู่สมรส ซึ่งคุณแม่เหล่านี้จะมีจำนวนบุตรที่น้อยกว่า และมีการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเลี้ยงลูกได้ดีมากกว่า ทำให้เกิดความแตกต่างในระดับสติปัญญาและการจำคำศัพท์ของเด็กเป็นอย่างมาก ข้อได้เปรียบเหล่านี้เห็นได้ชัดเจนกับเด็กที่เกิดในครอบครัวที่มีชีวิตการแต่งงานที่มั่นคง นอกจากนี้ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา (การศึกษานี้เกิดขึ้นที่อเมริกา) คุณภาพการเลี้ยงดูเด็กในครอบครัวที่มั่งมีกับครอบครัวที่ยากไร้มีความแตกต่างกันมากขึ้น เพราะเด็กที่เกิดภายใต้ครอบครัวที่มีชีวิตการแต่งงานที่มั่นคงจะได้เปรียบอย่างมาก เมื่อเทียบกับเด็กที่เกิดภายใต้การสมรสแบบอื่น ๆ กล่าวโดยสรุปคือ คุณแม่ที่มีการสึกษาจะทำงานมากกว่า มีครอบครัวที่มั่นคงมากกว่า และให้เวลากับกิจกรรมที่เป็นไปเพื่อพัฒนาเด็กมากกว่าคุณแม่ที่มีการศึกษาน้อยกว่า
จะเห็นได้ว่าสถาบันครอบครัวมีความสำคัญอย่างมาก การพัฒนาการศึกษาไม่ว่าจะเป็นประถม มัธยม อุดมศึกษาที่ทางภาครัฐพยายามที่จะจัดการ แต่จะมีประสิทธิภาพมากที่สุดถ้าภาครัฐสามารถพัฒนาช่วยเหลือเด็กตั้งแต่ยังไม่เกิดจนถึงปฐมวัย ซึ่งสามารถช่วยเหลือเป็นรูปแบบสวัสดิการ การให้คำปรึกษาทางด้านจิตวิทยาเพื่อช่วยเหลือทางด้านจิตใจ และลดภาระทางด้านจิตใจของคุณแม่ตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงเกิดมา การใช้บุคลากรที่มีความรู้ทางจิตวิทยาพัฒนาการมาช่วยเหลือเพื่อพัฒนาเด็กให้สามารถเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงมีการควบคุมการคุมกำเนิดเพื่อลดการตั้งครรภ์อย่างไม่พึงประสงค์ และที่ขาดไปไม่ได้คือการศึกษาที่ฟรี และการรักษาพยาบาลที่ฟรี เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของทุกครอบครัว ลดความวิตกกังวล เพื่อให้ครอบครัวมีเวลาในการอยู่ร่วมกันกับลูก ทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อที่จะให้เด็ก ๆ เติบโตขึ้นมาเป็นกำลังสำคัญของชาติ และหยุดยั่งวงจรความจน ความเจ็บไปเสียที
อ้างอิง
Hackman, J. (2008). Schools, Skill, and Synapses. Economic Inquiry. Western Economic Association International, 46(3), 289-324.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น