Ego คืออะไร ทำไมถึงสำคัญ

            บทความก่อน ๆ หน้านี้เราได้เข้าใจถึงโครงสร้างบุคลิกภาพ และการใช้กลไกป้องกันภายในตนเองอย่างละเอียดไปแล้ว อย่างที่กล่าวในท้ายบทความกลไกการป้องกันตนเอง ว่ากลไกการป้องกันเหมือนกับการเสพยาของ Ego ยิ่ง Ego ใช้กลไกป้องกัน (เสพยา) มากจนเกินไปจะส่งผลให้บุคคลเป็นโรคประสาท (การรับรู้ผิดปกติไปจากความเป็นจริง) ซึ่งการที่เราจะใช้กลไกป้องกันให้น้อยที่สุดนั้น สามารถทำได้โดยการทำให้ Ego เข้มแข็ง หรือกล่าวอย่างเข้าใจง่าย ๆ คือการทำให้จิตใจเข้มแข็งนั้นเอง

ความหมายของ Ego

            Ego = Self หรือแปลว่าอัตตา (ตัวตน) ซึ่งในทฤษฎีของฟรอยด์อย่างที่กล่าวไปในบทที่ผ่านมาว่า Ego เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างบุคลิกภาพ ที่ประกอบไปด้วย Id และ Superego

            คนทั่วไปมักใช้คำพูดง่า "Ego สูง" บ้าง "มี Ego" บ้าง ในความจริงแล้วคนทั่วไปที่ใช้ ใช้อย่างถูกครึ่งและผิดครึ่ง เนื่อจากคำว่า Ego หมายตัวตัวตน การมีตัวตนที่สูงหมายถึง การเชื่อมั่นในตนเอง นับถือตนเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ได้เลวร้าย สิ่งที่เราควรระวังคือ "Ego สูงมากเกินไป" เนื่องจากเอาเรามีความนับถือตนเองที่มาก เชื่อมั่นในตนเองสูงมาก จะเป็นอันตรายกับตนเอง และความแคลงใจของคนรอบข้อง

            บุคคลที่มี Ego สูงมากเกินไป จะคล้ายกับโรค Narcissistic Personality Disorder (NPD) หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า "โรคหลงตนเอง" เป็นภาวะบกพร่องทางด้านบุคลิกภาพเนื่อจากหลังตัวเองมากเกินไป ชื่อโรคนี้ได้รับแรงบัลดาลใจมากจาก Narcissus ผู้มีรูปโฉมงามจากเทพนิยายกรีก ที่ถูกสาปโดยเทพเจ้าให้ตายเพราะหลงไหลรูปโฉมตนเอง จากพฤติกรรมที่หักอกผู้คนครั้งแล้วครั้งเล่าทั้ง ๆ ที่ไม่ได้หมายปองต้องการใคร Narcissus ตายจากกาที่เขาก้มดื่นน้ำที่ทะเลสาบแล้วเห็นใบหน้าตนเอง เขาจึงตกหลุมรักและจะพยายามคว้าเอามาจนสุดท้ายเค้าได้ตกน้ำตาย

            จากการศึกษาพบว่าอาการของคนที่เป็นโรคนี้จะคลั้งไคล้ตนเองมากกว่าปกติ เช่น ทัศนคติที่ว่า ตนเองทำอะไรก็เก่ง มองว่าความคิดตนเองถูกต้องที่สุด ความคิดที่เห็นต่างไปนั้นผิด ฉลาดที่สุด ชอบใช้คน และคิดว่าคนอื่นต้องอิจฉาที่ตนเองเก่ง เราอาจคุ้นเคยกับอาการดังกล่าว แต่ในความจริงแล้วคนที่เป็นโรคนี้ไม่ได้มีเยอะขนาดนั้น เนื่องจากการเกิดของโรคนี้ไม่ได้เกิดจากที่ตนเองเป็นคนเก่งอยู่แล้ว แต่เกิดจากการที่คนรอบข้างหรือสังคมไม่ยอมรับ โดดเดี่ยว จิตใจที่บอบช้ำจึงได้ใช้กลไกการป้องกันตนเอง (Ego Defense Mechanism) การปฎิเสธความจริง และมองว่าตนเองนั้นเป็นในสิ่งที่ปรารถนา นั้นคือสิ่งที่ตรงกันข้ามกับตนเอง นอกจากนั้นผู้ป่วย NPD มักจะใช้กลไก Projection เพื่อโยนสิ่งที่แย่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นความอับอาย ความผิดพลาดไปที่คนอื่น

            จากที่เกริ่นถึงโรค NPD กล่าวได้ว่า NPD กับ Ego สูงเกินไปอาจแสดงอาการออกมาคล้ายคลึงกัน แต่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง เนื่องจาก Ego สูงนั้นไม่ได้มาจากการใช้กลไกป้องกันตนเอง แต่เกิดจากการที่บุคลิกภาพเกิดการพัฒนาตนเอง ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากโลกในความเป็นจริง เช่น บุคคลคนหนึ่งอาจถูกเชิดชูความสามารถ ความฉลาดหลากแหลม จนอัตตาของเขานั้นสูงขึ้นจนมากเกินไป หรือเขาอาจจะมองตนเองว่าเขานั้นฉลาดหลากแหลมก็สามารถเป็นไปได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นแล้ว Ego สูงเกินไปก็เหมือนกับน้ำที่เต็มแก้ว ไม่สามารถใส่อะไรเพิ่มได้อีกแล้ว และมักจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงตนเองได้ เนื่องจากข้อเท็จจริงในโลกแห่งความเป็นจริงที่เราจะไม่สามารถปฏิเสธได้เลยคือ "มนุษย์เราผิดพลาดอยู่เสมอ" ดังนั้นการมี Ego สูงเกินไปจึงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาตนเอง แต่การที่เรามี Ego ที่มีความแข็งแกร่งยืดหยุ่นได้นั้น คือเป้าหมายของเรา


กระบวนการชั้นมัธยม 

            Ego มีความอดกลั้นต่อความเครียด รู้จักรอจนกว่าจะได้จังหวะใช้พลังงานออกไปอย่างเหมาะสม การใช้หลักของความเป็นจริง ไม่ได้หมายถึงจะต้องละทิ้งความบันทึกอย่างเช่น การจินตนาการไป แต่เป็นการหยุดเอาไว้ชั่วคราว และปลดปล่อยตัวเองให้อยู่ในโลกของความเป็นจริงเท่านั้น ถึงที่สุดแล้วหลักความเป็นจริงนำไปสู่ความสุขได้นั้นเอง ถึงแม้ว่าจะต้องทนอยู่กับความเครียด ความคับข้องใจ หรือความไม่สบายใจก็ตาม

            หลักของความเป็นจริงเป็นกระบวนการทางจิตใจที่ฟรอยด์เรียกว่า กระบวนการชั้นมัธยม ซึ่งเป็นกระบวนการขั้นสูงอีกระดับหนึ่ง เพราะกระบวนการขั้นนี้ได้เจริญเติบโตขึ้นมาในภายหลัง กระบวนการขั้นปฐม ของระบบ Id เพื่อที่จะเข้าใจความหมายของกระบวนการมัธยมอย่างชัดเจน จำเป็นจะต้องเข้าใจกระบวนการขั้นปฐมเสียก่อน ซึ่งกระบวนการขั้นปฐมนั้นหมายถึงการทำให้เกิดความพึงพอใจด้วยการสร้างมโนภาพขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง

            กระบวนการขั้นมธัยม คือกระบวนการที่ประกอบไปด้วยการค้นหาหรือการผลิตตามความเป็นจริง โดยอาศัยการวางแผนสำหรับการกระทำต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากความคิดและเหตุผล ฉะนั้นกระบวนการขั้นมธัยมจึงมีความหมายที่เรียกโดยทั่วไปว่าการแก้ปัญหา หรือการใช้ความคิดอย่างใคร่ครวญนั้นเอง ซึ่งกระบวนการขั้นมัธยม สามารถกระทำการบางอย่างที่กระบวนการขั้นปฐมทำไม่ได้ กล่าวคือ กระบวนการขั้นมัธยมสามารถแยกโลกความฝันออกจากโลกของความเป็นจริงได้ ได้รับรู้โลกภายนอกได้อย่างละเอียด ประณีตขึ้น เรียนรู้ที่จะพิจารณาโลกได้อย่างรวดเร็วและรู้ที่จะเลือกสิ่งเร้าเฉพาะที่จะนำมาใช้แก้ปัญหาเท่านั้น สำหรับเรื่องราวที่ได้รับผ่านทางอวัยวะสัมผัส และจากการคิดจะรวบรวมไว้ในระบบความจำ ความทรงจำจะพัฒนาดีขึ้นโดยการเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างรูปรอยความจำกับการพัฒนาระบบสื่อความหมาย 

            เหนือสิ่งอื่นใดทั้งหมด การปรับการทำงานของจิตใจทำให้บุคคลประพฤติได้อย่างฉลาดมากขึ้น และมีสมรรถภาพในการควบคุมความหุนหันของตนและสิ่งแวดล้อมของตนได้อย่างพึงพอใจ ระบบ Ego จะถูกมองว่าเป็นหน่วยที่มีความสลับซับซ้อนที่มี Id กับโลกภายนอกคั่นอยู่

            สำหรับกระบวนการซึ่งตอบสนองความเป็นจริงนั้นมีลักษณะการทำงานคล้าย ๆ กระบวนการขั้นปฐมภูมิของ Id คือเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ผลิตอารมณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความเพ้อเจอ ความรุนแรง หรือความต้องการทางเพศ ซึ่งกระบวนการของ Ego นั้นมีความต่างออกไป เพราะว่ามันสามารถแยกได้ว่าอะไรคือความจริง และอะไรคือความฝัน ซึ่งกระบวนการขั้นปฐมทำไม่ได้อย่างที่กล่าวมาข้างต้น 

            ถึงแม้ว่า Ego จะเป็นผลส่วนใหญ่มาจากสิ่งแวดล้อม แต่การพัฒนาการของมันถูกกำหนดโดยพันธุกรรม และนำโดยกระบวนการเติบโตตามธรรมชาติ (วุฒิภาวะ) อันนี้หมายความว่าทุกคนเกิดมาพร้อมศักยภาพของการคิดและเหตุผลอยู่แล้ว และศักยภาพเหล่านี้เข้มแข็งขึ้นด้วยประสบการณ์ การฝึกอบรม การเรียนรู้สิ่งที่ทำให้มนุษย์พัฒนาวัฒนธรรมมาได้ไกลถึงปัจจุบันเกิดจากสิ่งที่เรียกว่า "ภาษา" ซึ่งในอดีตเราสามารถสื่อสารกันได้ เมื่อบรรพบุรุษเราเผชิญกับความอันตรายในบางพื้นที่ พวกเขาใช้วิธีการสื่อสารเพื่อบอกกล่าวไม่ให้ก้าวเข้าไปในพื้นที่นั้น แต่เมื่อพวกเขาตายไปหล่ะ ? ดังนั้นแล้วภาษาคือสิ่งที่พวกเขาเหล่านั้นจะสามารถบันทึกถึงความอันตรายต่าง ๆ ประสบการณ์ของพวกเขา เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาและเข้าใจกับสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ดังนั้นแล้วภาษาจึงหนึ่งในตัวแปรที่บุคคลจะสามารถพิจารณาเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างแหลมคมมากขึ้น และสามารถที่จะตัดสินว่าอะไรถูก อะไรผิดผิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            ในปัจจุบันเราสามารถเรียนรู้สิ่งที่เคยเกิดขึ้นไปแล้วอย่างยาวไกล มีข้อมูลมากมายบนโลกใบนี้ เราสามารถเลือกที่จะเชี่ยวชาญในบางด้านและศึกษาจนแตกฉานได้อย่างไม่ยาก ยังไม่รวมถึงวิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นการที่เรามีปัญญา มีความรู้เกี่ยวกับโลกทัศน์มากขึ้นเท่าไหร่ Ego ยิ่งสามารถประนีประนอมกับ Id และ Superego ได้ง่ายขึ้นเท่านั้น การใช้ Defense Mechanisms จะเกิดน้อยมาก หรือหากเกิดก็เกิดในระดับทั่วไปที่ไม่มีอันตราย เราจะสามารถเข้าถึงความเป็นจริงได้ซึ่งจะนำไปถึงการพัฒนาตนเอง เพราะการพัฒนาตนเองเกิดจากการยืนอยู่บนพื้นที่แห่งความเป็นจริง

อ้างอิง

กิติกร มีทรัพย์.  2554.  พื่นฐานทฤษฎีจิตวิเคราะห์.  พิมพ์ครั้งที่ 5.  กรุงเทพฯ: สมิต.

คาลอส บุญสุภา. (2560). Id Ego และ Superego ทฤษฎีโครงสร้างบุคลิกภาพ. https://sircr.blogspot.com/2017/12/id-ego-superego-sigmund-freud.html

psychologytoday.com/us/conditions/narcissistic-personality-disorder

ความคิดเห็น