นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoleon Bonaparte) ภาคล่มสลาย

สูงสุดคืนสู่สามัญ ไม่ว่าจะสูงมากเท่าไหร่ ก็อาจมีสักวันที่จะกลับลงไปในจุดที่ต่ำที่สุดได้ เป็นสิ่งที่มนุษย์พึงคำนึงเอาไว้ นโปเลียนเป็นตัวอย่างที่เห็นชัดมากที่สุดในเรื่องนี้

จากเรื่องราวใน ภาค 1 (ก่อนออกรบ) และภาค 2 (ตอนออกรบ)  สิ่งที่เป็นทำให้นโปเลียนมีชื่อเสียงอย่างมาก เพราะนโปเลียนเป็นผู้นำที่ใช้ยุทธวิธีแบบใหม่ ๆ มาใช้ในการรบ ในอดีตการรบแบบเก่าๆ ที่เรามักจะเห็นในหนังสงคราม คืิอการที่ทหารจะล้อมเมืองหรือป้องที่สำคัญ ๆ เป็นเวลานาน จนต้องยอมแพ้เพราะเสบียงอาหารหมด แต่นโปเลียนใช้วิธีการบุกแบบสายฟ้าแลบ (เหมือนยุทธวิธีที่ฮิตเลอร์นำมาใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 2) ซึ่งนโปเลียนมั่นใจในการใช้กำลังเข้าโจมตีอย่างรวดเร็วโดยที่ข้าศึกไม่ได้ตั้งตัว เป็นยุทธวิธีที่สร้างความหน้าเกรงขามไปทั่วยุโรป

ด้วยความสามารถทางการรบนี้ทำให้นโปเลียนเป็นที่นิยมอย่างมาก ในปี 1789 นโปเลียนได้นำกองทัพฝรั่งเศสบุกอียิปต์ถึงแม้ว่าการต่อสู้ทางบกที่นำโดยนโปเลียนจะได้รับชัยชนะ แต่ในการต่อสู้ทางเรือ กองทัพของเขาถูกกองทัพเรืออังกฤษภายใต้การนำของหลอดเนลสันปราบ เมื่อแพ้สงครามนโปเลียนเดินทางกลับจากฝรั่งเศส แต่ประชาชนชาวฝรั่งเศสจดจำเขาในฐานะผู้พิชิตอิตาลีได้ดีกว่าผู้แพ้สงครามในอียิปต์ บวกกับสมัยนั้นฝรั่งเศสเป็นประเทศที่ยากจนอย่างมาก จนเกิดการที่ประชาชนบุกคุกบัสตีย์ ในวันที่ 14 ก.ค. 1789 ในสมัยพระเจ้าหลุยที่ 16 ซึ่งหลังจากนั้นไม่นานพระเจ้าหลุยที่ 16 พยายามที่จะหนีจากฝรั่งเศสแต่โดนจับได้เสียก่อนและโดนพากลับมาขังเอาไว้ การที่พระเจ้าหลุยที่ 16 หนีจึงทำให้ฝ่ายที่ต้องการโค้นล้มระบบกษัตริย์มีความชอบธรรมขึ้นมา เพราะการหนีนั้นก็เป็นการที่กษัตริย์ทิ้งประชาชน ในขณะนั้นมีบุคคลสำคัญที่เป็นนักการเมืองและนักปรัชญามากมายในฝรั่งเศสที่มีบทบาทในการปฏิวัติการปกครองของฝรั่งเศสในปี 1789 มากมาย แต่บุคคลที่มีบทบาทมากที่สุดที่ทำให้นโปเลียนก้าวเข้ามามีอำนาจได้นั้นคือ ซีแยส์ หรือ แอมานุแอล โฌแซ็ฟ ซีเยแย็ส (Emmanuel Joseph Sieyès) เขามีชื่อเสียงจากผลงานชื่อ "ฐานันดรที่สามคืออะไร" ด้วยผลงานนี้จึงทำให้เขาได้รับเลือกเข้าสภาและมีบทบาทอย่างมาก และเป็นหนึ่งในคนที่ลงคะแนนเสียงให้ประหารพระเจ้าหลุยที่ 16 หลังจากที่ลงคะแนนเสร็จแล้ว ซีแยส์ก็เลยบทบาทตนเองออกไปเพราะมองว่า หลังจากที่พระเจ้าหลุยที่ 16 โดนประหารไปแล้วจะมีการนองเลือดครั้งใหญ่เกิดขึ้น แต้ซีแยส์กลับมาอีกครั้งหนึ่งจากการที่ไปยุให้นโปเลียนทำรัฐประหารในปี 1799 และขึ้นมาเป็นใหญ่ โดยซีแยส์ใช้เวลาเพียงเดือนกว่า ๆ ก็สามารถร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้สำเร็จ แล้วได้ประกาศใช้ในปีเดียวกัน

โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้แก้ได้ยากมาก และให้อำนาจให้แก่กงสุลแบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งกงสุลคนที่หนึ่งก็คือนโปเลียนเอง โดยนโปเลียนมีอำนาจที่จะแต่งตั้งรัฐมนตรี นายพล ข้าราชการพลเรือน พนักงานฝ่ายปกครอง รวมทั้งบรรจุข้าราชการในตำแหน่งสภาร่างกฎหมาย เมื่อมีอำนาจอยู่ในมือนโปเลียนก็คิดหาทางเล่นงานฝ่ายตรงข้าม ยิ่งเมื่อตอนมีคนมาวางระเบิดหวังปลิดชีพนโปเลียน ก็ยิ่งทำให้มีข้ออ้างในการเล่นงานศัตรู มีการจับกุม มีการประหาร ปิดปากสื่อที่เขียนโจมตี จนทำให้เกิดความกลัวและทำให้สถานการณ์ต่าง ๆ เบาบางลงชั่วคราว

หลังจากที่จัดการทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว นโปเลียนก็ออกไปรบกับออสเตรีย และได้ชัยชนะมาครอบครองในปี 1800 หลังจากที่พ่ายแพ้หลายครั้งออสเตรียจึงยอมทำสัญญาสงบศึกและมอบดินแดนหลายแห่งให้แก่ฝรั่งเศส หลังจากนั้นประเทศอื่น ๆ เช่นรัสเซียก็ยอมทำสัญญาสงบศึกด้วยเช่นกัน ยกเว้นประเทศอังกฤษ แต่หลังจากนั้น 1 ปี ในปี 1801 อังกฤษก็ทำสัญญาสงบศึกเพื่่อประโยชน์ทางการค้ากับฝรั่งเศส

จากรัฐธรรมนูญระบบกงสุลที่มีกงสุล 3 คน โดยนำโปเลียนเป็นกงสุลคนที่ 1 จนกระทั่งในปี 1802 นโปเลียนจึงวางแผนให้สภาตั้งตนเองเป็นกลสุลตลอดชีวิต โดยการลงประชามติซึ่งมีผู้ลงมติเห็นด้วยถึง 3,568,885 คน ต่อ 8,374 คน เนื่องจากนโปเลียนได้สร้างผลงานจนเป็นที่น่าประทับใจ ทั้งการจัดการในบ้านเมือง ความสามารถในการรบ และการมั่งคั่งของประเทศที่เพิ่มมากขึ้น นโปเลียนเห็นถึงกระแสของสังคมที่ให้ความนิยมมากล้น จึงอยากที่จะเป็นกษัตย์ ทั้งวุฒิสถาและสภาผู้แทนราษฎรก็ให้มีการสถาปนานโปเลียนขึ้นเป็นจักรพรรดิ และร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใช้อีกครั้งหนึ่ง ในปี 1804 ขณะที่มีอายุ 35 ปี


ในระหว่างที่ทำพิธี เมื่อถึงตอนที่พระสันตปาปาจะสวมมงกุฏให้ นโปเเลียนคว้าเอามาจากมือและสวมให้กับตนเองแทน  เพราะตำแหน่งนี้ถือเป็นความสามารถของตนไม่ได้มาจากใครประทานให้ เพราะโดยปกติผู้ที่เป็นพระมหากษัตย์จะมาจากสายเลือดที่สืบต่อกัน แต่นโปเลียนเริ่มจากเป็นร้อยตรีจน ๆ ได้ไต่เต้าขึ้นมาจนได้เป็นจักรพรรดิ
ด้วยทัศนะความคิดของนโปเลียนที่ว่า "สันติภาพอันมั่นคงถาวะจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อโค่นล้มสหราชอาณาจักรได้แล้วเท่านั้น" จึงวางแผนบุกอังกฤษ โดยมีทัพเรือสเปนร่วมด้วย แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่สามารถเอาชนะทัพเรือที่มีชื่อเสียงโด่งดังของอังกฤษได้ แต่อักฤษก็สูญเสียแม่ทัพเรือหลอดเนลสันผู้มีชื่อเสียงไปด้วยเช่นกัน ที่ท่าทราฟัลการ์ เมื่อนโปเลียนไม่สามารถเอาชนะทางทางการรบได้จึงบีบบังคับอังกฤษทางเศรษฐกิจ โดยไปบังคับประเทศต่าง ๆ ให้เลิกซื้อสินค้าจากอังกฤษ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะคนยุโรปส่วนใหญ่ชมชอบสินค้าของอังกฤษมานานแล้ว จนทำให้นโปเลียนต้องแตกคอกับมิตรประเทศ อังกฤษจึงพยายามรวบรวมกองกำลังโดยจับมือเป็นพันธมิตรร่วมกับ ออสเตรีย รัสเซีย และสวีเดน เพื่อร่วมรบกับฝรั่งเศส แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่สามารถเอาชนะฝรั่งเศสได้ นอกจากพันธมิตรจะชนะไม่ได้แล้ว นโปเลียนยังเข้าทำสงครามกับปรัสเซีย และ โปแลนด์ไปด้วยเลยทีเดียว เรียกได้ว่ากองกำลังทางบกของฝรั่งเศสเป็นกองกำลังที่เยอะมหาศาลและ ดีที่สุดในโลกขณะนั้น

สำหรับประเทศรัสเซีย นโปเลียนได้เข้าพบกับพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 และขอให้พระองค์สั่งให้ประชาชนทั้งประเทศร่วมกันไม่ซื้อสินค้าจากประเทศอังกฤษ โดยพระองค์ทรงยอมตามด้วยดี ต่อมานโปเลียนได้หย่ากับโจเซฟินแล้วอภิเสกกับเจ้าหญิงมาเรีย หลุยส์แห่งออสเตรีย เนื่องจากนโปเลียนมีพระชนมายุ 42 ปี แต่ไม่มีรัชทายาท ซึ่งในปีต่อมา (1810) พระองค์ก็ได้โอรสสมใจ

ในช่วงปี 1810 เป็นช่วงเวลาที่จักรวรรดิฝรั่งเศสเรืองอำนาจอย่างสูงสุด นโปเลียนได้ตั้งตัวเองเป็นกษัตย์ปกครองอิตาลี แล้วส่งโจเซฟพี่ชายไปปกครองแคว้นเนเบิลส์ ให้หลุยส์น้องชายไปปกครองประเทศฮอลแลนด์ ซึ่งประเทศต่าง ๆ ในยุโปรไม่ว่าจะเป็น สเปน เดนมาร์ก เยอรมัน ปรัสเซีย และนครรัฐอื่น ๆ อย่างเช่นวาติกันของพระสันตปาปา ซึ่งสามารถกล่าวได้เลยว่า จักรวรรดิฝรั่งเศสในสมัยนั้นยิ่งใหญ่เกรียงไกรไร้อำนาจต้านทาน

1812 อาณาเขตของฝรั่งเศษขยายไปอย่างกว้างขวาง ต่อมาศัตรูที่มีจำนวนมากของนโปเลียนประกาศแข็งข้อกับฝรั่งเศษ เช่น รัสเซีย นโปเลียนจึงยกทัพกว่า 5 แสนที่ประกอบด้วยทหารหลายชนชาติ แต่รัสเซียไม่อยากที่จะรบโดยแตกหัก แต่ใช้การถอยให้กองทัพนโปเลียนบุกลึกเข้าไปมาก ๆ โดยอาศัยความได้เปรียบของสภาพอากาศที่หนาวเหน็บ เส้นทางลำเลียงสเบียงก็ยาวมากขึ้น ทำให้กองทัพของนโปเลียนสูญเสียไปมากขึ้นจากความหนาว เมื่อนโปเลียนบุกลึกเข้าไปถึงมอสโค ก็สามารถเอาชนะและยึดเมืองได้ แต่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ของรัสเซียอพยบประชาชนออกไปจากเมืองพร้อมกับสเบียงอาหาร และเผาเมืองทิ้งเพื่อไม่ให้กองทัพนโปเลียนใช้ประโยชน์จากเมืองได้ กองทัพนโปเลียนจึงประสบกับปัญหาด้านสเบียงอาหาร และอากาศหนาวเย็นจึงขอเจรจาสงบศึก แต่ทางรัสเซียรู้ว่าตนกำลังได้เปรียบจึงไม่ยอมเจรจาด้วย นโปเลียนจึงยกทัพกลับ จึงถูกกองทัพรัสเซียรอบโจมตีตลอดเวลา แบบตอดเล็กตอดน้อยตลอดทาง กองทัพอันเกรียงไกรของนโปเลียนจึงล้มสลาย

ประเทศต่าง ๆ จึงฉวยโอกาสพยายามที่จะกำจัดอิทธิพลของนโปเลียนโดยยื่นเงื่อนไขสงบศึกและทำสัญญาสันติภาพโดยเงื่อนไขนั้น ห้ามฝรั่งเศสมีดินแดนในประเทศอื่นอีกต่อไป นโปเปลียนไม่ยอมปฏิบัติตามและพร้อมจะสู้ต่อ ในปี 1813 กองทัพพันธมิตรรวมกำลังพลกว่า 3 แสนนาย บุกเข้าฝรั่งเศสทุกทิศทางเพื่อแก้แค้นที่นโปเลียนเคยยกทัพเข้ารุกรานประเทศตน ฝรั่งเศสเหลือทหารเพียงแค่ 6 หมื่นนายก็ยังเอาชนะได้ในบางครั้ง แสดงให้เห็นว่านโปเลียนไม่ไช่แม่ทัพที่อาศัยกองกำลังเยอะเข้าว่า แต่ยังมีความสามารถในการวางยุทธศาสตร์ในการรบที่มีประสิทธิภาพ แต่เมื่อถูกโจมตีรอบด้านและมีท่าทีจะแพ้ วุฒิสภาฝรั่งเศสจึงประชุมหารือและมีมติประกาศให้นโปเลียนพ้นจากพระราชบัลลัง นโปเลียนเมื่อรู้ว่าไม่สามารถต้านทานทั้งกองทัพ และด้วยมติของวุฒิสภาได้จึงยอมสละราชสมบัติ

รัฐบาลได้นำนโปเลียนไปปล่อยที่เกาะเอลบ้า และแต่งตั้งพระเจ้าหลุยที่ 18 คลองบัลลังต่อไป หลังจากที่ถูกขังอยู่ 10 เดือน นโปเลียนก็รวบรวมกำลังทหารยกเข้าไปปารีสเพื่อยึดอำนาจจากรัฐบาลฝรั่งเศส เมื่อพันธมิตรในยุโรปทราบข่าวจึงพร้อมใจกันส่งกำลังทหารเข้าสู้รบกับนโปเลียน ซึ่งในขณะนั้นนโปเลียนสามารถรวบรวมกำลังทหารได้กว่า 1 แสน 5 หมื่น เข้ารบกับศัตรูและสามารถพิิชิตกองทัพรัสเซียที่บุกเข้ามาได้ จากนั้นจึงเดินทัพต่อเข้าปะทะกับอังกฤษที่นำโดย ดยุกแห่งเวลลิงตัน จนอังกฤษต่อล่าถอย แต่กองทัพปรัสเซียเข้าตีกระหนาบจนเกิดความระส่ำระสาย นโปเลียนจึงเห็นความปราชัย และยอมสละราชสมบัติอีกครั้งหนึ่ง จึงเป็นการยุติวาสนาของนโปเลียน อังกฤษนำตัวนโปเลียนไปปล่อยที่เกาะเซนต์เฮเลนา จน 1821 ผ่านไป 6 ปีที่โดนขัง นโปเลียนก็เสียชีวิตด้วยวัย 51 ปี

นับเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ของฝรั่งเศสที่เป็นมหาอำนาจ นโปเลียนเป็นนำที่เต็มไปด้วยความแตกต่าง เป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จที่น่าเกรงขาม และเผยแผ่แนวความคิดเสรีนิยมผ่านสงครามที่ยิ่งใหญ่ แม้ว่าเขาจะไม่เคยก้าวไปถึงฝันที่จะพิชิตทวีปยุโรปได้ ก็ไม่ต้องสงเสียเลยว่า นโปเลียนได้ฝากรอยจารึกเอาไว้ไม่ว่าจะดีหรือร้ายก็ตาม


ความคิดเห็น