ข้อคิดที่ได้จากเรื่องราว อดอล์ฟ ไอช์มันน์ ผู้จัดระบบเคลื่อนย้ายชาวยิวไปสู่ความตาย

การปฏิเสธความจริงโดยการคิดเข้าข้างตนเองนำมาซึ่งการปากว่าตาขยิบ

            เรื่องราวหลายเรื่องสามารถนำมาเป็นข้อคิดได้อย่างดี โดยเฉพาะเรื่องราวที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ในประวัติศาสตร์มีเรื่องราวมากมายไม่รู้จบสามารถนำมาเป็นกรณีศึกษาได้ ครั้งนี้ผมได้หยิบยกเรื่องราวเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นำโดย อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ผู้รังเกียจชาวยิวแบบสุดขั้ว และไม่เพียงแค่ชาสยิว แต่ยังรวมไปถึงผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ พิการ หรือเป็นเพศทางเลือกก็เป็นเหยือที่ต้องสังเวยชีวิตแทบทั้งสิ้น ยังไม่นับทหารอีกนับล้านที่ตายในสมรภูมิเดือดและการล่มสลายทางเศรษฐกิจของอีกหลายประเทศ

            แผนการครั้งสุดท้าย (Final Solution) ของฮิตเลอร์ คือการสังหารชาวยิวทั้งหมด ทหารจำนานมากถูกนำมาใช้เพื่อการฆ่าอย่างเป็นระบบ หนึ่งในทหารคนสำคัญที่เป็นผู้ควบคุมระบบการเคลื่อนย้ายยาวยิวไปสู่ความตายโดยรถไฟ นั่นก็คือ อดอล์ฟ ไอช์มันน์ (Adolf Eichmann) ทหารนาซีระดับสูง แต่สิ่งที่น่าสนใจไม่ใช่แค่ทหารคนนี้ควบคุมระบบการฆ่าคนเป็นล้านอย่างเป็นระบบได้อย่างไร แต่เป็นความคิดของเขาในวันที่เขาถูกจับเขาไม่ได้คิดว่าตัวเองทำผิดอะไรเลย เขาไม่ได้เกลียดชังชาวยิว เขาไม่ได้ฆ่าใครตาย และไม่ได้ทำผิดกฎหมายอะไรทั้งสิ้น 

เรื่องราวของ อดอล์ฟ ไอช์มันน์ ผู้จัดระบบเคลื่อนย้ายชาวยิวไปสู่ความตาย

            ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1930 เป็นต้นมา นาซีได้เริ่มบัญญัติกฎหมายลิดรอนสิทธิของชาวยิว อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler)โยนความผิดพลาดทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเยอรมนีไปที่ชาวยิว ซึ่งกฎหมายเหล่านั้นห้ามมิให้ชาวยิวเข้าไปเรียนในสถานศึกษาของรัฐ บังคับให้มอบทรัพย์สินเงินทองแก่รัฐ และกำหนดให้พวกเขาต้องติดดาวสีเหลืองไว้กับตัว ชาวยิวทุกคนจะถูกต้อนจับแล้วบังคับให้ไปอยู่ในเขตชุมชนแออัดของเมือง ซึ่งกลายเป็นสถานที่จองจำสำหรับพวกเขา อาหารขาดแคลนและชีวิตยากลำบาก จนไปสู่แผนการครั้งสุดท้าย (Final Solution) ของฮิตเลอร์ คือการสังหารชาวยิวทั้งหมด

            อดอล์ฟ ไอช์มันน์ (Adolf Eichmann) คือทหารนาซีระดับสูงที่ดูแลการขนย้ายชาวยิวในยุโรปไปยังค่อยกักกันที่โปแลนด์ รวมทั้งค่ายเอาชวิทซ์ (Auschwitz) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนฆ่าชาวยิวทุกชีวิตที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ไอช์มันน์ซึ่งเป็นทหารนาซีระดับสูงนั่งจัดกองเอกสารอยู่ในสำนักงานและหมุนโทรศัพท์ติดต่อเรื่องสำคัญ ๆ และจัดการระบบรถไฟให้วิ่งตรงเวลา ทำให้รถบรรทุกสามารถบรรทุกชาวยิวเต็มเสมอ ซึ่งมีทั้งผู้ชาย ผู้หญิงและเด็ก พวกเขาต้องเผชิญกับการเดินทางอันยาวนานและทุกข์ทรมานไปสู่ความตาย

            ในขณะที่ไอช์มันน์นั่งทำงานของเขา คนนับล้านต้องตายเพราะสิ่งที่เขาทำ บางคนตายจากโรคไทฟรอยด์หรือขาดอาหาร คนอื่น ๆ ถูกบังคับให้ทำงานจนตายแต่ส่วนใหญ่ตายเพราะถูกรมแก๊ส ในเยอรมนีภายใต้การปกครองของนาซี เขาโดดเด่นมากเพราะมีศักยภาพที่จะจัดการให้รถไฟบรรทุกเต็มเสมอ ไม่ว่าจะเป็นผู้ชาย ผู้หญิง และเด็ก ทั้งหมดเผชิญการเดินทางอันยาวนานและทุกข์ทรมานไปสู่ความตาย ส่วนใหญ่ไร้ซึ่งอาหารและน้ำดื่ม บางครั้งต้องอยู่กลางอากาศหนาวเหน็บหรือร้อนจัด หลายคนตายระหว่างทางโดยเฉพาะคนแก่และคนป่วย

            สุดท้ายเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงพร้อมกับความพ่ายแพ้ของนาซี ไอช์มันได้หนีไปอยู่อเจนตินาและถูกจับได้ในปี 1960 โดยสมาชิกหน่วยปฏิบัติการลับของอิสราเอล อันนาห์ อาเรนท์ (Hannah Arendt) นักปรัชญาชาวเยอรมันเชื้อสายยิวที่อพยพไปอยู่สหรัฐอเมริกา เธอได้สัมภาษณ์ อดอล์ฟ ไอช์มันน์ เธอพบว่าเขาผิดกับนาซีคนอื่น เขาไม่ได้เกลียดชาวยิวเข้ากระดูก เพราะมีนาซีจำนวนมหาศาลยินดีที่จะทุบตีชาวยิวให้ตายคาถนน หากชาวยิวคนนั้นไม่กล่าวทักทายด้วยวลี "ไฮล์ ฮิตเลอร์" เขาไม่ใช่หนึ่งในนั้น แต่เขาก็ทำหน้าที่ทางการของนาซีและยอมรับมัน ที่แย่ยิ่งไปกว่านั้น ไอช์มันน์ไม่ได้คิดว่าสิ่งที่ตัวเองมันผิดอะไรเลย 

เพราะเขาคิดว่าตัวเองไม่ได้ฆ่าใครตายและไม่ทำผิดกฎหมายอะไรทั้งสิ้น

ข้อคิดที่ได้จากเรื่องราว อดอล์ฟ ไอช์มันน์

            ผมยกเรื่องราวสั้น ๆ ของ อดอล์ฟ ไอช์มันน์ (Adolf Eichmann) เพราะเรื่องราวนี้เป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงธรรมชาติของมนุษย์ได้อย่างดี เราทุกคนต่างก็เคยทำสิ่งที่ผิดพลาด และหลายครั้งเราก็มองว่า "ฉันไม่ได้ทำผิดอะไรเลย" ไม่เพียงแค่นั้นตลอดประวัติศาสตร์ยังมีเรื่องราวแบบเดียวกันอีกเป็นจำนวนมาก และจะเกิดขึ้นต่อไปอีกในอนาคต ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยต่อไป จนกว่าเราจะตระหนักถึงความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติในตัวเอง และคุณค่าในตัวของผู้อื่นทุกคนที่มีเท่าเทียมกับตัวเรา ผมจึงแบ่งข้อคิดออกเป็น 3 ข้อดังนี้

ประวัติศาสตร์จำซ้ำรอยต่อไป จนกว่าเราจะตระหนักว่า คุณค่าในตัวของผู้อื่นเท่าเทียมกับตัวเรา

            1) ปฏิเสธความจริงโดยการคิดเข้าข้างตนเอง สิ่งที่ อดอล์ฟ ไอช์มันน์ ทำเป็นเรื่องที่ใหญ่โตและเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ แต่ที่น่าแปลกก็คือความคิดเข้าข้างตัวเองของไอช์มันน์ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่เลย ในช่วงที่มีการสังหารยาวยิว ทหารเยอรมันเกือบทุกคนเชื่อว่าตนเองทำในสิ่งที่ถูกต้อง ทั้ง ๆ ที่ตนเองได้สังหารผู้คนไปเป็นจำนานมาก เช่นเดียวกัน อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ก็อ้างถึงความถูกต้องและความชอบธรรมในการทำสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ แม้ว่าจะต้องทำลายชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนจำนวนมากแค่ไหนก็ตาม

            การคิดเข้าข้างตัวเองจึงเป็นกลไกสำคัญในการปฏิเสธความจริง เพราะการที่เราจะบิดเบือนความจริงได้เราจะต้องสร้างองค์ความคิดบางอย่างขึ้นมาเพื่อบิดเบือนความจริงไปเสียก่อน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นโดยที่เรารู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้ ซึ่งผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่เกิดกลไกดังกล่าวโดยอัตโนมัติ (ไม่รู้ตัว) แม้พวกเขาจะทำในสิ่งที่เลวร้ายแค่ไหนก็ตามแต่พวกเขาหลายคนก็เชื่ออย่างบริสุทธิ์ใจว่าตนเองทำในสิ่งที่ถูกต้อง และด้วยกลไกดังกล่าวจึงส่งผลให้เหล่าคนที่คิดเห็นตรงกันข้ามต้องกลายเป็นศัตรูไปโดยปริยาย

            2) ปากว่าตาขยิบ ไม่เพียงแค่ไอช์มันน์จะคิดเข้าข้างตัวเองเท่านั้น แต่เขายังปากว่าตาขยิบอีกด้วย เขาคิดว่าตนเองไม่ได้ทำในสิ่งที่ผิดเลย ทั้ง ๆ ที่ตัวเขาเป็นใจกลางหลักของการตายของผู้คนจำนวนมหาศาล และแม้ว่ามือของเขาจะหมุนโทรศัพท์เพื่อจัดการระบบรถไฟให้วิ่งตรงเวลา แต่เขาเชื่อว่าเขาทำตามกฎหมายทุกอย่างของนาซี และทำตามคำสั่งของฮิตเลอร์ซึ่งเป็นประมุขในขณะนั้น กล่าวคือ ไอช์มันน์ เสแสร้งโดยการใส่หน้ากากแห่งความดีโดยที่เขาก็ไม่ตระหนักถึงความจริงที่ว่า มีมนุษย์เสียชีวิตเป็นจำนวนหลายล้านคน 

            การคิดเข้าข้างตัวเองกับปากว่าตาขยิบแทบจะไม่มีอะไรแตกต่างกัน เพราะแต่ละอย่างก็เป็นการพยายามหาเหตุผลมาอ้างในสิ่งที่ตนเองทำแทบทั้งนั้น ต่างกันตรงที่การคิดเข้าข้างตนเอง (ความคิด) อาจจะเป็นเพียงแค่คิดว่าตนเองตัดสินใจเลือก หรือเชื่อในบางสิ่งบางอย่างโดยอ้างเหตุผลขึ้นมา แต่การปากว่าตาขยิบ (แสดงออก) คือการทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับที่ตนเองพูด ยกตัวอย่างเช่น การบอกว่าตนเองถือศิล เคร่งศาสนา แต่ตัวเองกลับทุบตีทำร้ายคนในครอบครัว ซึ่งเราจะพบเห็นตัวอย่างได้มากมายจากพระหรือนักบวชในศาสนาคริสต์ที่เคร่งศาสนาแต่ก่อคดีข่มขืนเด็ก

            3) ประวัติศาสตร์มักจะซ้ำรอยอยู่เสมอ ข้อนี้คือสิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างมากเพราะในหลายประเทศโดยเฉพาะในประเทศไทยเกิดเหตุการณ์ประวัตศาสตร์ซ้ำรอยหลายครั้งมาก ยกตัวอย่างเช่น ในแวดวงการเมืองที่มีการรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ซึ่งทุกครั้งประชาชนจำนวนหนึ่งก็คาดหวังว่าสิ่งต่าง ๆ จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ในความจริงแล้วนั่นก็คือกลไกการปฏิเสธความจริงโดยหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง และในขณะเดียวกันเหล่าทหารที่ทำการยึดอำนาจก็ปากว่าตาขยิบ ปากอ้างความชอบธรรมแต่สิ่งที่ทำลงไปคือการทำลายระบบการเมืองการปกครองอย่างรุนแรง 

            หลายประเทศพยายามป้องกันเรื่องราวซ้ำรอยโดยการ "ชำระประวัติศาสตร์" ยกตัวอย่างเช่น ประเทศเยอรมันในปัจจุบันที่พยายามจัดการกับประวัติศาสตร์การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ชาวยิว จนเป็นเหตุให้ชาวยิวหลายล้านคนเสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ประชาชนรุ่นใหม่เกิดการเรียนรู้และไม่ให้เกิดเหตุการณ์เลวร้ายเหมือนในอดีตอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตามนอกจากการหยิบยกประวัติศาสตร์มาพูดคุยแล้ว การสร้างความตระหนักรู้ในข้อเท็จจริงของประชาชนก็สามารถช่วยป้องกันประวัติศาสตร์ซ้ำรอยได้ กล่าวคือ กลไกภายในตัวบุคคลก็สำคัญเช่นเดียวกับกลไกมหาภาค

            ผู้อ่านจะเห็นว่าทั้งสามข้อเชื่อมโยงกันจนแทบจะเป็นเนื้อเดียวกัน เพราะการปฏิเสธความจริงโดยการคิดเข้าข้างตนเอง นำมาซึ่งการปากว่าตาขยิบ และสุดท้ายก็ทำให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอยู่เสมอไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์เรื่องราวของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น สามีที่ทุบตีภรรยาโดยอ้างเหตุผลว่าเพราะอารมณ์ชั่ววูบและไม่พยายามปรับปรุงตัวเองก็จะกระทำแบบนั้นในครั้งต่อไปและต่อไป จนกว่าเขาจะตระหนักในความจริงว่าสิ่งที่เขาทำมันเลวร้ายและควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน

            หรือประวัติศาสตร์เหตุการณ์บ้านเมือง ยกตัวอย่างเช่น กรณีการกระทำอันโหดร้ายในประเทศพม่าต่อชาวโรฮิงญาผ่านการป้ายสีอย่างเลวร้ายและการลงมือฆ่าอย่างอํามหิต และผมก็เชื่อว่าเหตุการณ์แบบนี้จะต้องเกิดขึ้นอีกในอนาคต หากแต่ละประเทศไม่ตระหนักถึงความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์อันปฏิเสธไม่ได้ว่าเราเป็นสิ่งมีชีวิตที่คิดเข้าข้างตัวเองและปากว่าตาขยิบ สัญชาตญาณของเราไม่ได้ดีอะไรนักหรอกครับ ดังนั้นการตระหนักถึงข้อเท็จจริงนี้จะช่วยให้เราพร้อมรับมือพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของตนเอง 

และแสดงออกในทางที่เมตตาและใจดีกับผู้อื่นรวมไปถึงตัวเองมากขึ้น

อ้างอิง

Warburton, N. (2012). A Little History of Philosophy. CT: Yale University Press.

คาลอส บญสุภา. (2565). เราอยู่ในสังคมแห่งการเสแสร้งที่เต็มไปด้วยหน้ากาก (Positive Illusions). https://sircr.blogspot.com/2022/02/positive-illusions.html

ความคิดเห็น